PROJECT MANAGEMENT ARTICLES

 กระต่าย กับ เต่า ใน ITIL Framework
ITIL Framework ประกอบไปด้วย บุคคลหลายบทบาทหน้าที่ มาทำงานร่วมกัน เพื่อบริหารจัดการ IT Service ให้องค์กร บางบทบาทต้องทำงานเร็วแข่งกับเวลา บางหน้าที่ต้องละเอียดรอบคอบ ช้าแต่ชัวร์ ในบทความนี้ เราจะมาดูกันครับ ว่างานไหนเหมาะกับกระต่าย และงานไหนเต่าจะได้เปรียบ ...อ่านต่อ

 เปรียบเทียบเส้นทางอาชีพ PMP และ ITIL Certified
Certified  Project Management Professional (PMP) และ Certified Information Technology Infrastructure Library (ITIL) เป็นใบรับรอง ที่สามารถเพิ่มโอกาส และความก้าวหน้าในสายอาชีพ ของเราได้ โดย PMP จะเน้นในเรื่องการบริหารโครงการ  ส่วน ITIL จะเน้นในเรื่อง การบริหาร IT Service  แม้ว่า ใบรับรองทั้งสอง จะมุ่งเน้นไปที่ ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน  แต่ก็สามารถส่งเสริมซึ่งกันและกันและเปิดโอกาส ในการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น บทความนี้ จะลงรายละเอียดเพื่อเปรียบเทียบเส้นทางอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ ใบรับรอง PMP และ ITIL ...อ่านต่อ

 ทำไม IT Project Manager จึงจำเป็นต้องเข้าใจ ITIL Process
ITIL Process คือ Framework หรือ กระบวนการ ที่เป็น Best Practice ในการบริหารจัดการ IT Service ขององค์กร และภารกิจหลัก ของ Project Manager ในโครงการด้านไอที ก็คือการส่งมอบระบบงานไอทีให้กับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นโครงการด้านการพัฒนา Software Application   โครงการปรับปรุงหรือติดตั้ง IT Infrastructure  หรือโครงการด้าน IT Security เป็นต้น  การที่ IT Project Manager จำเป็นต้องเข้าใจ ITIL Process เพื่อช่วยในการบริหารโครงการ ก็ด้วยเหตุผลต่างๆ หลายประการ ดังนี้ ...อ่านต่อ

 ความแตกต่างระหว่าง Change Control Board และ Change Advisory Board ในโครงการด้านไอที
โครงการด้านไอที เช่น การพัฒนา Software Application หรือ การปรับปรุง IT Infrastructure ต่างๆ นั้น Project Manager มักจะต้องทำงานร่วมกับ Change Control Board (CCB) และ Change Advisory Board (CAB) ซึ่งบ่อยครั้ง เกิดความสับสนในบทบาทหน้าที่ของ กลุ่มบุคคล 2 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น บทความนี้ จะขออธิบาย บทบาทหน้าที่ ของทั้ง CCB และ CAB เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงาน ให้กับ PM ที่ต้องบริหารโครงการด้านไอที ...อ่านต่อ

 ก้าวกระโดดของ Generative AI กับความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ
การเกิดขึ้นมาของ Generative AI (Gen-AI) ช่วยจุดประกายนวัตกรรมให้กับธุรกิจได้อย่างไร้ขีดจำกัด  แต่ก็อาจแฝงไปด้วยความท้าทายที่คาดไม่ถึงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหา Deepfakes, Bias Amplification, หรือ Hallucination บทความนี้จึงขอชวนทุกท่านมาสำรวจตัวอย่างการใช้งานและความเสี่ยงที่องค์กรต้องเผชิญ รวมถึงทำความรู้จักเบื้องต้นกับมาตรการที่สามารถนำไปปรับใช้ เพื่อเป็นจุดตั้งต้นในการบริหารจัดการให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ...อ่านต่อ

 พร้อมแล้วหรือยัง? หากต้องรับการตรวจ สธ.38
แนวทางเตรียมความพร้อมสำหรับประกาศ ก.ล.ต. ที่ สธ. 38/2565

ตั้งแต่ประกาศ ก.ล.ต. ที่ สธ. 38/2565 ถูกบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายภายใต้ขอบเขตของประกาศ มีหน้าที่ต้องนำส่งผลประเมิน RLA (Risk Level Assessment) และผลการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ภายใต้เงื่อนไขและกรอบระยะเวลาที่กำหนด*  ซึ่งลำดับถัดไปจะเป็นการแจ้งกำหนดการเข้าตรวจสอบรายบริษัทของผู้ประกอบธุรกิจ (บริษัท) โดย ก.ล.ต. ต่อไป ซึ่งบางบริษัทอาจมีความกังวลว่า แล้วบริษัทของตนเองมีความพร้อมจริงๆ หรือยัง? หรือจะถูกพบประเด็นที่มีนัยสำคัญจากการตรวจสอบหรือไม่? อย่างไรก็ตาม หากมีการเตรียมความพร้อมที่ดีเพียงพอ ก็จะช่วยลดความกังวลและเพิ่มความมั่นใจว่าจะผ่านกระบวนการตรวจสอบได้อย่างราบรื่น และได้รับผลการตรวจสอบตามที่ตั้งใจไว้ ดังนั้น บทความนี้จึงขอมาแบ่งปันแนวทางเบื้องต้นในการเตรียมความพร้อมสำหรับรับการตรวจสอบ เพื่อให้ลองนำไปปรับใช้ตามบริบทของแต่ละบริษัท ดังนี้
ก่อนเข้ารับการตรวจสอบควรทำอะไรบ้าง?  ...อ่านต่อ

 การยกระดับการกำกับดูแล Digital Landscape ครั้งสำคัญโดย ก.ล.ต.
ทำความรู้จักกับประกาศ ก.ล.ต. ที่ สธ. 38/2565

ในโลกการลงทุนที่ต้องเจอกระแสการเปลี่ยนแปลงด้าน Digital อย่างรวดเร็ว เป็นการกระตุ้นความเสี่ยงต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ให้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเพื่อเป็นการปกป้องนักลงทุนและเสถียรภาพของตลาดทุนและตลาดสินทรัพย์ Digital ของไทย ให้คงความเชื่อมั่นได้อย่างต่อเนื่อง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) จึงได้ออกมาตรการกำกับและควบคุมผ่านประกาศสำนักงานที่ สธ. 38/2565 เรื่องข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา  ...อ่านต่อ

 7 ขั้นตอนในการจัดการ เมื่อลูกค้าขอเพิ่มความต้องการ ที่นอกเหนือจากขอบเขตงานโครงการ
การจัดการความต้องการเพิ่มเติมจากลูกค้า  ซึ่งเป็นความต้องการ ที่อยู่นอกเหนือจาก ขอบเขตงานโครงการ  อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่เป็นสถานการณ์ทั่วไป ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในการบริหารโครงการ  หลายครั้ง Project Manager ประสบปัญหาในการบริหารเวลา และงบประมาณโครงการ เพราะต้องเผชิญกับปัญหานี้  ในบทความนี้ ผมจะขอนำเสนอ เป็นแนวทางทีละขั้นตอนในการจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าว ...อ่านต่อ

 การเปลี่ยนแปลงการแจ้งผลสอบ PMP – 25 กันยายน 2566
Project Management Institute (PMI) เพิ่งประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงการแจ้งผลสอบ Project Management Professional (PMP) ซึ่งจะมีผลในวันที่ 25 กันยายน 2566 ดังนี้ ...อ่านต่อ

ข้อมูลสำคัญ ที่ Business Analyst (BA) ต้องบันทึกใน Software Requirement Spec.
โครงการ พัฒนา Software Application คือการนำความต้องการของผู้ใช้งาน มาสร้างเป็น Software เพื่อสนับสนุนการทำงาน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องทำการรวบรวมความต้องการ จากผู้ใช้งาน และผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อนำมาสร้างเป็น Software Application และอุปสรรคประการสำคัญ ของโครงการดังกล่าว คือ การสื่อสารที่ผิดพลาด ระหว่าง ผู้ให้ความต้องการ กับ ผู้ที่มีหน้าที่พัฒนา Software   ส่งผลให้ โครงการ ล่าช้า หรือไม่เป็นไปตามเป้าหมายทางธุรกิจ ...อ่านต่อ

เราจะเปลี่ยน Accidental Project Manager ให้เป็น Professional Project Manager ได้อย่างไร ตอนที่ 1
ในบทความก่อนหน้านี้ผมได้เขียนอธิบายถึง Accidental Project Manager ไปแล้ว กล่าวโดยสรุป Accidental Project Manager คือ คนที่ต้องมารับหน้าที่เป็นผู้บริหารโครงการ โดยที่ตัวเองยังขาดความพร้อม ทั้งความรู้ ทักษะ ด้านการบริหารโครงการ ในบทความนี้ เราจะอธิบายถึง ทางแก้ไข ของปัญหาข้างต้น ทั้งในมุมมองของพนักงาน และในมุมมองขององค์กร ...อ่านต่อ

Accidental Project Manager คืออะไร
จากบทความก่อนหน้านี้ ผมได้อธิบายถึงความสำคัญของ Project Management ต่อการพัฒนาองค์กรไปแล้ว ซึ่งก็พอจะสรุปได้ว่า ในทุกๆธุรกิจ จะต้องมีงานโครงการให้ทำเสมอ และจำนวนงานที่เป็นลักษณะโครงการ ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆปี ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลต่อเนื่อง ให้พนักงานในองค์กร ต้องมารับบทบาทหน้าที่ เป็น Project Manager หรือผู้จัดการโครงการไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจ และไม่ว่าจะมีความพร้อมหรือไม่ ก็ตาม เราเรียก Project Manager ที่ตกอยู่ในสภาวะนี้ว่า ...อ่านต่อ

Project Management สำคัญอย่างไร ต่อองค์กร
ในบทความก่อนหน้านี้ ผมได้อธิบายไปแล้ว ว่า องค์กรรุ่นใหม่ จะมีงานที่เป็นลักษณะงานโครงการ มากขึ้น เนื่องจากสาเหตุอะไรบ้าง และสิ่งที่เป็นคำถามตามมาคือ องค์กร จำเป็นจะต้องมีทักษะ และความสามารถด้านการบริหารโครงการ หรือ Project Management Skill หรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่ง ความสามารถด้าน Project Management นั้น สำคัญต่อองค์กร อย่างไร เราจะมาลงรายละเอียดกัน ในบทความนี้ครับ  ...อ่านต่อ

ทำไมองค์กรรุ่นใหม่ จึงมีงานลักษณะเป็นโครงการมากขึ้น
งานลักษณะโครงการ หรือ Project-Based คืองานที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เป็นภารกิจพิเศษ ที่ไม่ใช่งานประจำ และต้องส่งมอบงานได้ ตามขอบเขตงาน ภายใต้กำหนดเวลา งบประมาณ และคุณภาพที่คาดหวัง หรืออาจจะเรียกงานลักษณะ Project-Based ที่ต้องทำภารกิจพิเศษนี้ว่า Mission-Based  ...อ่านต่อ

6 เรื่อง ที่ PMO ไม่ควรทำ
ผมได้เขียนบทความ แนะนำ บทบาทหน้าที่ ของ PMO ไปแล้ว ในหลายบทความก่อนหน้า โดยในบทความนี้ ผมจะขออธิบายถึง สิ่งที่ PMO ต้องพึงระวัง และไม่ควรทำ  เพื่อเป็นแนวทางให้ PMO หลายๆท่าน ระมัดระวัง ในการปฏิบัติงาน รวมถึงเป็นการหลีกเลี่ยง ผลกระทบด้านลบ ที่อาจจะเกิดขึ้น กับหน่วยงาน PMO ...อ่านต่อ

8 ขั้นตอน ในการจัดทำ PMO Roadmap
ในบทความก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนอธิบายถึง ความสำคัญของ PMO Roadmap และ สิ่งที่ต้องกำหนดให้ชัดเจนใน PMO Roadmap ไปแล้ว ในบทความนี้ จะขอแนะนำ แนวทางการจัดทำ PMO Roadmap รวมถึงประเด็นต่างๆ หรือ ขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ในการจัดทำ PMO Roadmap เพื่อให้หลายท่านที่เป็น PMO ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ หน่วยงาน PMO ...อ่านต่อ
 
PMO Roadmap คืออะไร และสำคัญอย่างไร
กระแสการจัดตั้ง หน่วยงาน Project Management Office หรือ PMO ในองค์กรนั้น ได้รับความนิยมอย่างมาก ในช่วงหลายสิบปี ที่ผ่านมา และสิ่งที่เป็นปัญหา ลำดับต้นๆ ของการจัดตั้ง หน่วยงาน PMO นั่นคือ ความคาดหวังของผู้บริหาร และหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องการให้ PMO ปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ในองค์กร และการกำหนด Job Description ของ PMO นั้น ต้องพิจารณา ปัจจัยและบริบทต่างๆ  หลายประการ เช่น ลักษณะโครงสร้างองค์กร  จำนวนโครงการในองค์กร  จำนวน Project Manager ในองค์กร จำนวนพนักงานในฝ่ายงาน PMO และ ความพร้อมของบุคคลกรในองค์กร ทั้งในเรื่องความรู้และความสามารถในการบริหารโครงการ  หาก PMO ไม่สามารถบริหารจัดการ ความคาดหวังของ CEO และผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆได้ ก็จะส่งผลให้หน่วยงาน PMO อาจจะถูกประเมินว่า ไม่มีประโยชน์ หรือไม่สามารถสร้างคุณค่าให้กับองค์กรได้ และส่งผลให้หน่วยงาน PMO ถูกยกเลิกไปในที่สุด  ...อ่านต่อ

8 เรื่อง ที่ PMO ต้องทำ เพื่อบริหารความคาดหวังของ CEO 
ในหลายบทความก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนอธิบายถึง PMO หรือ Project Management Office ไปในหลายหัวข้อ และ หลายมุมมอง เช่น แนวทางการบริหารความขัดแย้ง เมื่อ PMO ต้องรายงานสถานะโครงการที่มีปัญหา ให้ผู้บริหารทราบ  หรือ  บทบาทหน้าที่ ของ PMO ไปแล้ว ในบทความนี้ ผมจะขอนำหัวข้อเรื่อง วิธีการ ที่ PMO ใช้ ในการบริหารความคาดหวัง ของ CEO หรือ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร และจากประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา ในการจัดตั้ง และบริหารจัดการ หน่วยงาน PMO ในหลายองค์กร ผมพบว่า PMO เป็นหน่วยงาน ที่ถูกคาดหวัง จากผู้บริหาร ให้  สามารถ เปลี่ยนแปลง และพัฒนา การบริหารโครงการ ให้มีประสิทธิภาพ ภายในระยะเวลา อันสั้น ด้วยทรัพยากร ที่จำกัด โดยทั่วไป CEO หรือ ผู้บริหาร จะคาดหวังกับ PMO ในหลายเรื่อง เช่น  ...อ่านต่อ

การบริหารความขัดแย้ง เมื่อ PMO ต้องรายงาน สถานะ ของโครงการที่มีปัญหา ให้ CEO ทราบ 
ในหลายบทความก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนอธิบายถึง บทบาทหน้าที่ ของ Project Management Office หรือ PMO ไปแล้ว และจากประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา ในการจัดตั้ง และบริหารจัดการ หน่วยงาน PMO ในหลายองค์กร ผมพบว่า PMO เป็นหน่วยงาน ที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งต่างๆ ค่อนข้างสูง ทั้งความขัดแย้ง ที่เกิดมาจากการที่ต้องไปกำกับดูแลการบริหารโครงการ ของ Project Manager ภายในองค์กร และภายนอกองค์กร หรือ ความขัดแย้งที่เกิดมาจากความคาดหวังของผู้บริหาร ที่ต้องการให้ PMO ผลักดันให้โครงการทั้งหมดขององค์กร บรรลุตามเป้าหมาย รวมไปถึง ความขัดแย้งที่เกิดมาจาก การรายงาน สถานะโครงการทั้งหมดขององค์กร ให้ผู้บริหารทราบ ในกรณีที่ มีบางโครงการ มีสถานะ ที่ล่าช้า หรือเกิดปัญหาในโครงการ ...อ่านต่อ

การเข้าใจ วัฒนธรรมองค์กร คือสิ่งจำเป็นในการ บริหาร Stakeholder ในโครงการ
คำว่า Stakeholder หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการนั้น หมายถึง บุคคล  กลุ่มบุคคล หรือองค์กร ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ หรือสามารถสร้างผลกระทบให้โครงการได้ และมักจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับโครงการ เพื่อเพิ่มส่วนได้ และลดส่วนเสียของตัวเอง โดยบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลดังกล่าว มักจะมาพร้อมความคาดหวัง และระดับอำนาจที่แตกต่างกัน การบริหารจัดการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ คือการบริหารความคาดหวังของเขาเหล่านั้น เพื่อให้โครงการได้รับการสนับสนุน จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก  ...อ่านต่อ

การถอดบทเรียนโครงการ คือกุญแจสำคัญ ในการพัฒนาการบริหารโครงการ ในองค์กร
หากจะอ้างอิง ถึง วงจรการพัฒนาคุณภาพ อย่าง P-D-C-A  หรือ Plan-Do-Check-Act แล้ว การถอดบทเรียนโครงการ ก็จะเปรียบได้กับขั้นตอน การ Check ในวงจร P-D-C-A  โดยจุดประสงค์หลักของ การถอดบทเรียนโครงการ หรือการทำ Project Lesson Learned นั้น ก็เพื่อเรียนรู้ทั้งเรื่อง ที่สำเร็จ และ เรื่องที่ล้มเหลว ในโครงการ เพื่อนำไป ต่อยอดในสิ่งที่ประสบความสำเร็จ และนำไปปรับปรุงแก้ไข ในสิ่งที่ล้มเหลว ...อ่านต่อ

ความแตกต่างระหว่าง ความรับผิดชอบ และการทำงานแบบเชิงรุก
การบริหารโครงการนั้น เป็นงานที่ต้องมีการวางแผนงานร่วมกัน ระหว่าง Project Manager และ ทีมงานโครงการ  โดยทุกคนมีหน้าที่ ต้องทำงานที่ตัวเอง ได้รับมอบหมาย ให้เสร็จตามกำหนดเวลา และได้คุณภาพ รวมถึงครบตามขอบเขตงาน ดังนั้น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ Project Manager และทีมงาน ต้องมี เพื่อให้งานลุล่วงไปตามแผนงาน  แต่เหนือไปกว่าความรับผิดชอบต่องานของตนเอง เรายังคาดหวังให้ทุกคนในโครงการ มีวิธีการทำงานแบบ เชิงรุก หรือ Proactive เพื่อ ...อ่านต่อ

องค์กรของคุณ บริหารโครงการ ได้ดีแล้วหรือไม่ เขาดูกันอย่างไร
ความสามารถในการบริหารโครงการ ขององค์กร หรือ Organizational Project Management Capabilities (OPMC) ถือเป็นปัจจัยความสำเร็จประการสำคัญ ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร โดยเฉพาะในโลกยุคปัจจุบัน ที่ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ มากมาย เช่น ...อ่านต่อ

12 Principles สำหรับการบริหารโครงการ อ้างอิงตาม PMBOK 7th
Project Management Body of Knowledge (PMBOK) ได้เดินทางมาถึง Edition 7th แล้ว  ในบทความนี้จะขออธิบายถึง 12 หลักการพื้นฐาน หรือ 12 Principles สำหรับการบริหารโครงการ อ้างอิงตาม PMBOK 7th ซึ่งเป็นสิ่งที่ Project Manager และ ทีมงานโครงการ ต้องเข้าใจ และใช้เป็นแนวปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่การบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ และส่งเสริมให้โครงการประสบความสำเร็จ โดยในบทความนี้ จะขออธิบายเป็นภาพสรุป โดยย่อๆ ของ 12 Principles สำหรับการบริหารโครงการ ...อ่านต่อ

สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน (ตอนที่ 10)
จากบทความเรื่อง สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน ในตอนที่ 1-9 ซึ่งผมได้อธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือ เพราะมีงานงอก และเพราะทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ และผมได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุหลักย่อย และ Root Cause  พร้อมเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้ผมจะขอนำสาเหตุหลักอีกประการหนึ่งของปัญหาโครงการล่าช้า มาวิเคราะห์เจาะลึกลงรายละเอียดมากขึ้น นั่นคือ เพราะโครงการขาดการวางแผน จึงทำให้ไม่ทราบสถานะจริงของโครงการ ...อ่านต่อ

สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน (ตอนที่ 9)
จากบทความเรื่องสาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกันในตอนที่ 8 ซึ่งผมได้อธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือเพราะทีมงานโครงการ ทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ และผมได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุหลักที่ทำให้ทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ นั่นคือเพราะวางลำดับงานในโครงการผิดพลาด จึงทำให้ทำงานได้ช้ากว่าแผนงาน  พร้อมเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้ผมจะขอนำสาเหตุหลักประการที่ 6  ของปัญหาทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ มาวิเคราะห์เจาะลึกลงรายละเอียดมากขึ้น นั่นคือเพราะเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานในโครงการไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงทำให้ทำงานได้ช้ากว่าแผนงาน  โดยผมจะขอนำสาเหตุดังกล่าว มาทำการวิเคราะห์เจาะลึกหาสาเหตุระดับราก (Root Cause) ต่อไป และแนะนำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไข ดังนี้ ...อ่านต่อ

ความแตกต่างระหว่าง Quality Control กับ Scope Validation ในการบริหารโครงการ 
จากบทความเรื่องสาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน ซึ่งได้เขียนมาหลายตอนแล้ว จะพบว่าปัญหาเรื่องคุณภาพของสิ่งส่งมอบในโครงการเป็นเรื่องสำคัญที่มักจะทำให้โครงการเกิดการล่าช้าขึ้น เนื่องจากปัญหาเรื่องคุณภาพงานจะทำให้เกิดงานเพิ่มในโครงการ เนื่องจากต้องไปแก้ไขปัญหาคุณภาพ และส่งผลให้โครงการล่าช้า  ในบทความนี้ผมจะขอนำกิจกรรมที่มักจะถูกใช้ในการควบคุมคุณภาพของโครงการ มาอธิบายลงในรายละเอียด นั่นคือ การนำผลงาน หรือสิ่งส่งมอบในโครงการมาทำการตรวจสอบก่อนส่งถึงมือลูกค้า ซึ่งในการบริหารโครงการนั้นทีมงานมักจะมีความสับสนในกิจกรรมการตรวจสอบงาน เนื่องจากการตรวจสอบงานในโครงการสามารถแบ่งหลักๆ ได้ 2 ประเภทหลักๆ  คือการตรวจสอบเพื่อทำ Quality Control และการตรวจสอบเพื่อทำการ Validate Scope  ทั้งนี้จะขออ้างอิงคำนิยาม และความหมายของ ทั้ง Quality Control และ Validate Scope ตามหนังสือ Project Management Body Of Knowledge (PMBOK) ของสถาบัน PMI หรือ Project Management Institute ดังนี้นะครับ ...อ่านต่อ
 
สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน (ตอนที่ 8)
จากบทความเรื่อง สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน ในตอนที่ 7 ซึ่งผมได้อธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือ เพราะทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ และผมได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุหลักที่ทำให้ทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ นั่นคือ เพราะมีการเปลี่ยนคนทำงานในโครงการ จึงทำให้ทำงานได้ช้ากว่าแผนงาน  พร้อมเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้ผมจะขอนำสาเหตุหลักประการที่ 5 ของปัญหาทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ มาวิเคราะห์เจาะลึกลงรายละเอียดมากขึ้น นั่นคือ เพราะวางลำดับงานในโครงการผิดพลาดจึงทำให้ทำงานได้ช้ากว่าแผนงาน  โดยผมจะขอนำสาเหตุดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์เจาะลึกหาสาเหตุระดับราก (Root Cause) ...อ่านต่อ

สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน (ตอนที่ 7)
จากบทความเรื่องสาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกันในตอนที่ 6 ซึ่งผมได้อธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือ เพราะทีมงานทำงานได้ช้ากว่าแผนบริหารโครงการที่วางไว้ และผมได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุหลักที่ทำให้ทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ นั่นคือ เพราะคนทำงานขาดทักษะที่จำเป็นในการทำงานในโครงการจึงทำให้ทำงานได้ช้ากว่าแผนงาน  พร้อมเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้ ผมจะขอนำสาเหตุหลักประการที่ 4 ของปัญหาทีมงานโครงการ ทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ มาวิเคราะห์เจาะลึกลงรายละเอียดมากขึ้น นั่นคือ เพราะมีการเปลี่ยนคนทำงานในโครงการจึงทำให้ทำงานได้ช้ากว่าแผนงาน  โดยผมจะขอนำสาเหตุดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์เจาะลึกหาสาเหตุระดับราก (Root Cause) ต่อไป และแนะนำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไข ดังนี้ ...อ่านต่อ

ทักษะ Active Listening กับการบริหารโครงการ
การบริหารโครงการ ไม่ว่าจะเป็นแบบ Predictive หรือ แบบ Agile นั้น  Project Manager จะต้องมีทักษะสำคัญประการหนึ่งที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ และใช้ในการรับฟังเพื่อแก้ไขปัญหาของโครงการ นั่นคือ ทักษะการฟังอย่างเข้าใจ หรือ Active Listening ...อ่านต่อ

สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน (ตอนที่ 6)
บทความเรื่อง สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน ได้เขียนมาถึงตอนที่ 1-5 แล้ว ซึ่งในบทความตอนที่แล้ว ผมได้อธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือ เพราะทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ และ ผมได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุหลักที่ทำให้ทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ นั่นคือ เพราะขาดทรัพยากรที่ต้องใช้ในโครงการ  พร้อมเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว ในบทความตอนที่ 6 นี้ ผมจะขอนำสาเหตุหลักประการที่ 3 ของปัญหาทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ มาวิเคราะห์เจาะลึก ลงรายละเอียดมากขึ้น นั่นคือ เพราะทีมงานในโครงการขาดทักษะ จึงทำให้ทำงานได้ช้ากว่าแผนงาน  โดยผมจะขอนำสาเหตุดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์เจาะลึกหาสาเหตุระดับราก (Root Cause) ต่อไป และแนะนำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไข ดังนี้ ...อ่านต่อ

สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน (ตอนที่ 5)
จากบทความเรื่อง สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกันในตอนที่ 4 ซึ่งผมได้อธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือ เพราะทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ และ ผมได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุหลักที่ทำให้ทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ นั่นคือ ทีมงานโครงการประเมินเวลาที่ต้องใช้ในการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมผิดพลาด  พร้อมเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้ผมจะขอนำสาเหตุหลักประการที่ 2 ของปัญหาทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ มาวิเคราะห์เจาะลึกลงรายละเอียดมากขึ้น นั่นคือ เพราะขาดทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการ โดยผมจะขอนำสาเหตุดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์เจาะลึกหาสาเหตุระดับราก (Root Cause) ต่อไป และแนะนำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไข ดังนี้ ...อ่านต่อ

สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน (ตอนที่ 4)
จากบทความเรื่อง สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน ในตอนที่ 1-3  ซึ่งผมได้อธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือ โครงการประสบกับปัญหา เกิดงานเพิ่ม หรืองานงอก และผมได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการมีงานเพิ่มหรืองานงอก และวิธีป้องกันครบถ้วนแล้ว ในบทความนี้ ผมจะขอกลับไปสู่สาเหตุหลักข้อที่ 2 ที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือ เพราะทีมงานโครงการทำงานได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้ และผมจะวิเคราะห์ลงรายละเอียดเพิ่มเติมถึงสาเหตุของปัญหาดังกล่าวพร้อมแนะนำแนวทางการป้องกัน แต่ก่อนอื่นจะขอทบทวนสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า ดังนี้ ...อ่านต่อ

การแก้ปัญหา Requirement ของโครงการ ไม่ชัดเจน ด้วย MVP
จากบทความเรื่อง สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกันในตอนที่ 1-3 ซึ่งผมได้อธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือ โครงการประสบกับปัญหาเกิดงานเพิ่ม หรืองานงอก และผมได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดงานงอก นั่นคือ ทีมงานโครงการกำหนดกิจกรรมที่ต้องทำในโครงการได้ไม่ครบถ้วน  และลูกค้า หรือผู้ใช้งาน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการมีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมความต้องการในโครงการ  ส่งผลให้มีผู้อ่านบางท่านติดต่อมาถามว่าหากไม่สามารถกำหนด Requirement ของโครงการให้ชัดเจนได้ ตั้งแต่ช่วงต้นโครงการนั้น จะมีวิธีการรับมือกับปัญหานี้อย่างไร ...อ่านต่อ

สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน (ตอนที่ 3)
จากบทความเรื่อง สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน ในตอนที่ 1 และ 2  ซึ่งผมได้อธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือ โครงการประสบกับปัญหา เกิดงานเพิ่ม หรืองานงอก และ ผมได้วิเคราะห์เจาะลึก ถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดงานงอก นั่นคือ ทีมงานโครงการกำหนดกิจกรรมที่ต้องทำในโครงการได้ไม่ครบถ้วน   และอีกสาเหตุหนึ่งคือ  ลูกค้า หรือผู้ใช้งาน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการมีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมความต้องการในโครงการ พร้อมเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้ ผมจะขอนำสาเหตุหลักประการที่ 3 ของปัญหางานงอกมาวิเคราะห์เจาะลึกลงรายละเอียดมากขึ้น นั่นคือ โครงการประสบปัญหาซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน โดยผมจะขอนำสาเหตุดังกล่าว มาทำการวิเคราะห์เจาะลึกหาสาเหตุระดับราก (Root Cause) ต่อไป และแนะนำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไข ดังนี้ ...อ่านต่อ

สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน (ตอนที่ 2)
จากบทความเรื่องสาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกันในตอนที่ 1 ซึ่งผมได้อธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล่าช้า นั่นคือโครงการประสบกับปัญหาเกิดงานเพิ่ม หรืองานงอก และผมได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดงานงอก นั่นคือทีมงานโครงการกำหนดกิจกรรมที่ต้องทำในโครงการได้ไม่ครบถ้วน  พร้อมเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้ผมจะขอนำสาเหตุหลักประการที่ 2 ของปัญหางานงอกมาวิเคราะห์เจาะลึก ลงรายละเอียดมากขึ้น นั่นคือลูกค้า หรือผู้ใช้งาน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการมีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมความต้องการในโครงการ โดยผมจะขอนำสาเหตุดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์เจาะลึกหาสาเหตุระดับราก (Root Cause) ต่อไป และแนะนำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไข ดังนี้ ...อ่านต่อ

สาเหตุที่โครงการล่าช้า และแนวทางการป้องกัน (ตอนที่ 1)
โครงการล่าช้า และต้องปรับแผนตลอดเวลา ถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยครั้ง หรืออาจจะกล่าวได้ว่า โครงการส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 ประสบกับปัญหาส่งงานล่าช้ากว่ากำหนดการ จนกระทั่งมี Project Manager หลายคน ที่ผมมีโอกาสได้ไปบรรยายหลักสูตรบริหารโครงการให้เขาเหล่านั้น เขาได้ตั้งคำถามกับผม ถึงสาเหตุ และวิธีป้องกันปัญหาเรื่องโครงการล่าช้า ผมจึงได้ใช้เวลาในการรวบรวมสาเหตุทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาของการล่าช้าของงานในโครงการ รวมถึงแนวทางป้องกัน เพื่อนำมาแบ่งปันในบทความนี้ ...อ่านต่อ

แนวทางการสร้าง Informal Power ในการบริหารโครงการ
จากประสบการณ์ ในการให้คำปรึกษาด้านการบริหารโครงการมาหลายปี ผมพบว่าปัญหาสำคัญประการหนึ่งของ Project Manager คือ เขาหรือเธอเหล่านั้นขาดอำนาจอย่างเป็นทางการในการสั่งการทีมงาน (Formal Power) คำพูดที่ผมได้รับฟังบ่อยๆ จากผู้จัดการโครงการ ที่ผมต้องให้คำปรึกษาคือ ...อ่านต่อ

แนวข้อสอบ PMP ใหม่ (เริ่มใช้ 2 มกราคม 2021)
ตามประกาศล่าสุดของ PMI เกี่ยวกับการเปลี่ยนแนวข้อสอบ PMP นั้น PMI แจ้งว่า แนวข้อสอบปัจจุบันที่ PMI ประกาศใช้ตั้งแต่ มิถุนายน 2015 นั้น จะสิ้นสุดลง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2020 ดังนั้น ข้อสอบ PMP ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2021 เป็นต้นไป จะเป็นไปตามแนวข้อสอบใหม่ เพื่อให้ผู้สนใจสอบ PMP ได้ประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้องว่า ตนเองควรจะเตรียมตัวสอบในแนวทางเดิมและรีบสอบให้ทันภายใน  30 มิถุนายน 2020 หรือเริ่มเตรียมตัวเรียนรู้หัวข้อตามแนวทางใหม่ เพื่อใช้ในการสอบหลัง 2 มกราคม 2021 สถาบันโนวเลดเจอร์จึงขอแจกแจงรายละเอียดของแนวข้อสอบ PMP ใหม่ให้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ ดังนี้ ...อ่านต่อ

Servant Leadership ทักษะที่จำเป็นสำหรับ ScrumMaster ในการบริหารโครงการแบบ Scrum
แนวคิดการบริหารโครงการแบบ Scrum ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่ง การบริหารแบบ Agile นั้น ตั้งอยู่บนรากฐานของการทำงานกับทีมงานที่สามารถบริหารจัดการตนเองได้ (Self-Organizing Team) และทักษะสำคัญประการหนึ่งของคนที่จะทำหน้าที่เป็น ScrumMaster ในโครงการนั้น ก็คือการบริหารจัดการทีมงาน ให้สามารถทำงานให้สำเร็จด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องให้คนอื่นมาติดตามหรือกำกับดูแล ...อ่านต่อ

การสร้างวัฒนธรรม Self Organizing Team สิ่งจำเป็นสำหรับการบริหารโครงการแบบ Agile
การบริหารโครงการแบบ Scrum ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการบริหารแบบ Agile นั้น  ตั้งอยู่บนรากฐานของการทำงานกับทีมงานที่สามารถบริหารจัดการตนเองได้ (Self-Organizing Team) ทีมงานมีสิทธิในการกำหนดกิจกรรม และแผนงานในโครงการด้วยตัวเอง รวมถึงสามารถกำหนดวิธีการทำงานด้วยตัวเองได้ โดย ScrumMaster จะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) การสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบบริหารจัดการตนเองได้ (Self-Organizing Team) จึงเป็นปัจจัยความสำเร็จประการสำคัญในการนำการบริหารโครงการแบบ Scrum มาใช้งาน ...อ่านต่อ

อุปสรรคสำคัญในการเริ่มต้น นำการบริหารโครงการแบบ Agile มาใช้ในองค์กร
จากกระแสการบริหารโครงการ แบบ Agile ที่มาแรงและเป็นที่นิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายองค์กรพยายามนำวิธีการบริหารโครงการแบบ Agile มาปรับใช้กับโครงการของตนเอง ด้วยความคาดหวังว่า โครงการจะส่งมอบงานได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น ปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น และส่งมอบงานได้เร็วขึ้น แต่การนำ วิธีการบริหารโครงการแบบ Agile นั้น อาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกองค์กร และยังคงต้องการ การปรับตัวอย่างมากมาย เพื่อเข้าสู่การทำงานแบบ Agile  ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอแบ่งปันประสบการณ์ อุปสรรคที่พบ จากการนำ Agile ไปใช้ เพื่อเป็นแนวทางป้องกัน และแก้ไข สำหรับองค์กรที่จะประยุกต์ใช้วิธีการทำงานแบบ Agile...อ่านต่อ

เทคนิควิธีการเลือก Life Cycle ของ โครงการ (Waterfall หรือ Agile ดีหล่ะ)
การวางแผนโครงการนั้น มีผลอย่างมากต่อการควบคุมประสิทธิภาพโครงการ และขั้นตอนสำคัญประการหนึ่งของการวางแผนโครงการ นั่นก็คือการเลือก Life Cycle ให้เหมาะกับสถานการณ์ และบริบทของโครงการ ในบทความนี้ ตั้งใจจะมาแนะนำให้ผู้อ่านทุกท่าน รู้จักกับ Life Cycle สำคัญๆ 3 ประเภท และข้อดีข้อเสียของแต่ละประเภท เพื่อให้ท่านผู้จัดการโครงการ ทั้งมือใหม่และมือเก๋า ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจเลือก Life Cycle ให้เหมาะสมกับโครงการของตนเอง แต่ก่อนจะไปกล่าวถึง Life Cycle ของโครงการนั้น เราจะมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าโดยทั่วไป งานในโครงการมักจะแบ่งกลุ่มงานต่างๆออกเป็นกลุ่มงานอะไรบ้าง ดังนี้ ...อ่านต่อ

Software Testing Scenario กรณีทดสอบ Application ประเภท User Interface Testing
ผมได้รับคำถามจาก Project Manager ด้าน Application Development หลายท่าน ในโครงการที่ผมเป็นทีปรึกษาอยู่ ถึงวิธีการทดสอบคุณภาพของ Application ที่พัฒนาขึ้นมา ซึงโดยปกติจะมีการทดสอบการทำงานตามฟังก์ชั่นต่างๆ (Functional Testing) อยู่แล้ว แต่การทดสอบในเรื่อง หน้าจอการทำงาน (User Interface Testing) มักจะถูกละเลยไป จนทำให้ต้องเสียเวลามาแก้ไขกันในภายหลัง ผมจึงรวบรวม กรณีทดสอบ Application ประเภท User Interface Testing ขึ้นมาเพื่อให้ Project Manager ด้าน Application Development นำไปปรับใช้ในโครงการของตนเอง...อ่านต่อ

จาก PMBOK 5th Edition สู่ PMBOK 6th Edition
และแล้ว PMBOK หรือ Project Management Body Of Knowledge ก็ได้เดินทางมาถึง Edition ที่ 6th Edition ที่ได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการสำหรับคนที่จะสอบ PMP หลังจาก วันที่ 26 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป โดย PMBOK 6th Edition มีจุดเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาจาก PMBOK 5th Edition ในหลายประเด็น เช่น จำนวน Process ทั้งหมด เพิ่มจากเดิม 47 Processes เป็น 49 Processes และมีการเปลี่ยนชื่อองค์ความรู้บางส่วน...อ่านต่อ

6 ทักษะสำหรับ Project Manager ขั้นเทพ
บทความก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนถึง 7 ทักษะ พื้นฐานสุดๆ สำหรับ Project Manager มือใหม่ป้ายแดง ซึ่งก็ได้แนะนำทักษะพื้นฐานสำหรับผู้เริ่มต้น เป็น Project Manager ไปแล้ว ในบทความนี้จะขอแนะนำ อีก 6 ทักษะขั้นเทพ สำหรับ Project Manager มืออาชีพครับ โดยทักษะทั้ง 6 ข้อดังกล่าว เป็นความสามารถบวกกับประสบการณ์ของผู้ที่เป็น Project Manager มานาน จนสามารถก่อเกิดเป็นความเชี่ยวชาญในการบริหารโครงการ โดยจะประกอบไปด้วยทักษะต่างๆ ดังนี้...อ่านต่อ

8 บทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน PMO ระดับเริ่มต้น
บทบาทหน้าที่ของ PMO ในแต่ละองค์กร จะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น PMO ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจสำหรับโครงการใดโครงการหนึ่งก็จะมีหน้าที่หลักๆ ในการกำกับดูแลโครงการนั้น ให้ประสบความสำเร็จ  แต่ถ้าหากเป็น PMO ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาภายใต้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เช่น PMO ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาภายใต้หน่วยงานไอที และขึ้นตรงกับ CIO ก็จะมีบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลโครงการทั้งหมดภายใต้หน่วยงานไอที  หรือหากเป็นกรณีที่ PMO ถูกก่อตั้งขึ้นมาโดย CEO ก็จะมีบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลโครงการทั้งหมดในองค์กรและมักจะเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรในการ กำกับดูแลโครงการเชิงกลยุทธ์ทั้งหมดขององค์กร...อ่านต่อ

7 ทักษะพื้นฐานสุดๆ สำหรับ Project Manager ป้ายแดง
หลายบทความก่อนหน้านี้ ผมเคยเขียนถึง วิธีการพัฒนาตนเองเพื่อเป็น Project Manager มืออาชีพ ในหลายๆมุมมอง เช่น เทคนิคการสอบเพื่อ Certified PMP (Project Management Professional)  หรือ เส้นทางสู่การเป็น Project Manager มืออาชีพ เป็นต้น  สำหรับบทความนี้ ผมตั้งใจจะเขียน เพื่อเป็นแนวทางให้น้องๆ ที่เริ่มต้นเป็น Project Manager ใหม่ ซึ่งต้องการฝึกทักษะขั้นพื้นฐานสุดๆ ในการบริหารโครงการ ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายๆ และสามารถใช้ในการบริหารโครงการอย่างง่ายๆได้  ดังนี้...อ่านต่อ

การส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ ในมุมมองของการบริหารโครงการ
"ผมได้มีโอกาสอ่านบทความที่ดีมากๆ บทความหนึ่งที่อธิบายเรื่องการส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ ในมุมมองของการบริหารโครงการ (Project Management) จากผู้เขียนคือ คุณบุญสน เจนชัยมหกุล ท่านเป็น First Senior Executive Vice President ที่ดูแล Information Technology Group ของธนาคารออมสิน หรือหากจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ ท่านเป็นผู้บริหารระดับสูงที่เป็นเบอร์หนึ่งด้าน IT ของธนาคารออมสิน และเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเองก็ได้มีโอกาสได้พบกับท่านในการประชุมแห่งหนึ่ง หลังจากการประชุมจบลง ผมจึงเข้าไปแนะนำตัวและถือโอกาสขออนุญาตนำบทความดังกล่าวมาเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานกับ Project Manager รุ่นน้องๆ ให้เข้าใจถึงความจำเป็นในทักษะด้านการบริหารโครงการที่มีผลต่อความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่...อ่านต่อ

แนวข้อสอบ PMP ประเภท Scenario Question (ตอนที่ 3)
Exam 7 :  เมื่อ Project Manager ได้ดำเนินการวางแผนตอบโต้ความเสี่ยง (Risk Response Plan) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  สิ่งที่ Project Manager ควรทำในขั้นตอนต่อไปคือข้อใด (What is the next thing you should do ?)...อ่านต่อ

แนวข้อสอบ PMP ประเภท Scenario Question (ตอนที่ 2)
Exam 4 :  ท่านเป็น Project Manager ในโครงการก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ มูลค่า 1,000 ล้านบาท และเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่บริษัทของท่านเคยทำมา โครงการนี้เกี่ยวข้องกับ Supplier และผู้รับเหมาก่อสร้าง 7 ราย และมีทีมงานที่เกี่ยวข้อง ถึง 142 คน และมี Work Package ในโครงการถึง 4,430 Work Package  และเมื่อโครงการนี้เริ่มต้นแล้ว จะไม่สามารถหยุดหรือยกเลิกได้ เนื่องจากค่าปรับมีมูลค่าสูงมาก อีกทั้งหากโครงการล่าช้า บริษัทท่านจะโดนค่าปรับ วันละ 0.2% ของมูลค่าโครงการ  ในฐานะที่ท่านเป็น Project Manager สิ่งที่ท่านจะต้องให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างรอบคอบและคือข้อใด...อ่านต่อ

แนวข้อสอบ PMP ประเภท Scenario Question (ตอนที่ 1)
สำหรับคนที่กำลังจะเตรียมสอบ PMP ก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่า  ข้อสอบส่วนใหญ่ จะเป็นข้อสอบแนวดุลยพินิจ โดยให้โจทย์มาเป็นเหตุการณ์แล้วถามเชิงวิเคราะห์เหตุการณ์เหล่านั้น เช่น ถามว่า ในฐานะที่เราเป็น Project Manager เราควรทำสิ่งใดต่อไปเป็นลำดับแรก (What is the next thing you should do ?) หรือ เราอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดที่เราควรทำ (What is the best thing you should do ?) หรือ ถามว่าขั้นตอนใดของการบริหารโครงการที่น่าจะมีปัญหาและควรกลับไปทบทวนใหม่อีกครั้ง (What part of this project management plan needs to be revisited ?) เป็นต้น  ผมจะขอเรียกชื่อคำถามประเภทนี้ว่า คำถามประเภทวิเคราะห์เหตุการณ์จำลอง หรือ Scenario Question...อ่านต่อ

Configuration Management ของโครงการคืออะไร
คำว่า Configuration นั้น สำหรับท่านที่ทำงานอยู่ในแวดวง IT และวิศวกรรม อาจคุ้นเคยกับคำนี้บ้างในความหมายของการตั้งค่าเริ่มต้นให้ระบบหรือเครื่องจักรทำงาน โดยใช้ภาษาพูดง่ายๆ ว่า เช่น Config file หรือ Config เครื่อง แต่ในบริบทของโครงการแล้ว ผู้ที่กำลังเตรียมตัวสอบ PMP จะพบ Configuration Management Plan เป็นหนึ่งในแผนย่อยที่มีอยู่ใน Project Management Plan หลายท่านยังมีความสงสัยกันมากว่า Project Configuration Management มีความหมายอย่างไร และสำคัญอย่างไรในการบริหารโครงการ รวมทั้งเกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของโครงการ (Performed Integrated Change Control)...อ่านต่อ

ข้อสอบ PMP เรื่อง เทคนิคการตอบโต้ความเสี่ยงในโครงการ
เนื่องจากมีผู้เข้าอบรมหลักสูตรเตรียมสอบ PMP หลายท่าน ถามมาถึง เทคนิคในการตอบโต้ความเสี่ยงในโครงการ ว่าทำอย่างไร จึงจะสามารถทำข้อสอบ PMP ในเรื่องนี้ได้ โดยโจทย์ข้อสอบมักจะให้ตัวอย่างเหตุการณ์ หรือ Scenario และถามว่า การกระทำดังกล่าวเป็นเทคนิคการตอบโต้ความเสี่ยง ประเภทใด ในบทความนี้ จะขออธิบายเทคนิคการตอบโต้ความเสี่ยงในโครงการ ให้กระจ่างชัด และยกตัวอย่างเหตุการณ์ ที่เป็นการตอบโต้ความเสี่ยง ด้วยเทคนิคประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและนำไปใช้ในการสอบ PMP ได้ดีขึ้น ดังนี้...อ่านต่อ

เทคนิคการทำ Project Schedule Compression
เทคนิคการทำ Project Schedule Compression คือ เทคนิคในการลดระยะเวลาของการดำเนินงานในโครงการ ให้เสร็จเร็วขึ้น ใช้ในกรณีที่ Project Manager ต้องการเร่งรัดงานในโครงการ โดยไม่มีการลดขอบเขตงาน หรือกล่าวโดยให้เข้าใจง่ายคือ Project Manager ต้องการลด Project Time โดยไม่ลด Project Scope นั่นเอง  อ้างอิงตาม Project Management Body Of Knowledge (PMBOK) นั้น  เทคนิคการทำ Schedule Compression มีด้วยกัน 2 วิธี...อ่านต่อ

Organizational Process Assets และ Enterprise Environmental Factors ในการบริหารโครงการ
จากประสบการณ์ ในการเป็นผู้บรรยาย หลักสูตรอบรม Project Management มากว่า 10 ปี และฝึกอบรมเพื่อให้ผู้เรียน สอบผ่าน Certified PMP มาหลายรุ่น ผมได้รับคำถามที่ผู้เรียน มักจะถามอยู่บ่อยครั้ง คือ ใน Project Management Body Of Knowledge หรือ PMBOK Guide นั้น จะกล่าวถึง องค์ประกอบ 2 เรื่องที่ใช้ในการบริหารโครงการอยู่บ่อยๆ นั่นคือ Organizational Process Assets หรือ OPA และ Enterprise Environmental Factors หรือ EEF นั้น หมายถึงอะไร แตกต่างกันอย่างไร และนำไปใช้อย่างไรในการบริหารโครงการจริง...อ่านต่อ

Project และ Program และ Portfolio ในโครงสร้างการทำงานแบบ Organization Project Management (OPM)
PMO ตามคำนิยาม ของ Project Management Body Of Knowledge (PMBOK) นั้น หมายถึง "Management structure that standardizes the project-related governance process and facilities the sharing of resource, methodologies, tools and techniques."        
Project Management Office หรือ PMO นั้น คือหน่วยงานกลางขององค์กร ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการบริหารโครงการในองค์กร เนื่องด้วยปัจจุบันองค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและการแข่งขันในธุรกิจ ส่งผลให้ทุกองค์กรต้องสร้างนวัตรกรรมต่างๆออกมา...อ่านต่อ

ความเสี่ยงและอุปสรรคในการจัดตั้ง PMO
ในบทความที่แล้ว เราได้แนะนำความหมายและหน้าที่ของ PMO รวมถึงปัจจัยความสำเร็จในการจัดตั้ง PMO ไปแล้ว ในบทความนี้ เราจะมาวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการจัดตั้ง PMO ให้สำเร็จและยั่งยืน รวมถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงเหล่านี้  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนรองรับ สำหรับองค์กรที่กำลังจะจัดตั้ง PMO นั้น ความเสี่ยงที่ต้องตระหนักมีดังนี้...อ่านต่อ

ปัจจัยความสำเร็จในการจัดตั้ง PMO
การจัดตั้ง PMO นั้น เป็นกระแสที่มีความนิยมอย่างมาก สำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา เหตุเนื่องมาจาก ผู้บริหารต้องการเครื่องมือในการบริหารโครงการ ทั้งหมดในองค์กร ซึ่ง PMO เป็นแนวคิดที่สามารถตอบโจทย์นี้ได้ แต่การจัดตั้งและพัฒนาหน่วยงาน PMO ให้สำเร็จและยั่งยืนนั้น ยังเป็นคำถามที่ท้าทายวิธีการจัดการขององค์กรอยู่เสมอ ในบทความนี้ เราจะมาวิเคราะห์ถึง ปัจจัยความสำเร็จ ในการจัดตั้ง PMO ในองค์กร...อ่านต่อ

มารู้จัก Project Management Office (PMO) กันเถอะ
Project Management Office หรือ PMO นั้น คือหน่วยงานกลางขององค์กร ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการบริหารโครงการในองค์กร เนื่องด้วยปัจจุบันองค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและการแข่งขันในธุรกิจ ส่งผลให้ทุกองค์กรต้องสร้างนวัตรกรรมต่างๆออกมา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันให้องค์กร (Competitive Advantage) กิจกรรมต่างๆที่เป็นการทำงานประจำแบบ Routine Based นั้น ไม่สามารถนำพาองค์กรให้อยู่รอดได้ในสภาวะปัจจุบัน...อ่านต่อ

แนวข้อสอบ PMP ที่เปลี่ยนแปลงไป หลังวันที่ 11 January 2016
หลังจากวันที่ 11 January 2016 โครงสร้างของข้อสอบ PMP หรือที่เราเรียกกันว่า Exam Content Outline จะมีการปรับเปลี่ยนไป แต่ผู้ที่ต้องการสอบ PMP ยังคงสามารถ ใช้ หนังสือ PMBOK 5th Edition ในการอ่านเพื่อเตรียมตัวสอบได้เหมือนเดิม เพียงแต่ต้องเรียนรู้ Exam Content Outline ใหม่ของ PMI เพิ่มเติม เพื่อทราบแนวข้อสอบใหม่ หลายท่านมีข้อสงสัยว่า Exam Content Outline นั้น มีความเกี่ยวข้องและความแตกต่างอย่างไรกับ PMBOK 5th Edition โดยในบทความนี้ จะอธิบายความแตกต่างระหว่าง Exam Content Outline และ PMBOK 5th Edition รวมถึง...อ่านต่อ

การบริหารความขัดแย้งในโครงการ (Conflict Management in Project)
Conflict หรือ ความขัดแย้งในโครงการนั้น สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ในการดำเนินโครงการ เหตุเนื่องมาจาก การทำงานในโครงการนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายแตกต่างกันไป ส่งผลให้มีมุมมองที่แตกต่าง และ ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการนั้น ย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ ในเงื่อนไขและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่แตกต่างกัน Conflict นั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่อโครงการ ....อ่านต่อ

9 เทคนิคพิชิตการสอบ PMP ได้ในครั้งแรก (สำหรับผู้ทำงานประจำ)
 ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า นวัตกรรมที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ได้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และทำให้เกิดขึ้นจริงได้ด้วยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้บริหารโครงการนั้นจะต้องมีองค์ความรู้ในหลายๆด้าน และประกอบกับการตัดสินใจที่ถูกต้องเพื่อใช้ทรัพยากรและเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้โครงการสำเร็จลุล่วงตามจุดประสงค์ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารโครงการควรมีใบประกาศนียบัตร Project Management Professional (PMP) ซึ่ง PMP เป็น Certification ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในวงการ Project Management ทั่วโลก โดย PMP เป็นใบประกาศนียบัตรที่ออกให้โดย Project Management Institute (PMI) ที่เป็นที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง Project Management จากหลายประเทศทั่วโลก ผู้ที่มีใบประกาศนียบัตร PMP นั้นจะได้รับความน่าเชื่อถือเพราะเข้าใจองค์ประกอบการบริหารโครงการในทุกๆด้าน และมีแนวทางในการบริหารโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น เพื่อให้ได้ PMP มาครอบครองผมจึงขอเสนอเทคนิคในการพิชิตการสอบ PMP โดยเขียนจากประสบการณ์ตรงที่ผมใช้ในการเตรียมตัวสอบดังนี้ครับ ....อ่านต่อ

การทำงานเชิงรุก หรือ Proactive Behavior
Proactive Behavior หรือ Self-Starting Behavior นั้น คือการทำงานอย่างมีการเตรียมการณ์ที่ดี เพื่อรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือป้องกันปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพื่อหวังผลความเป็นเลิศในงานของตนเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอ ให้ผู้อื่นมาบอกในสิ่งที่เราควรทำ หรือไม่ต้องรอจนกระทั่งเกิดความเสียหายขึ้นก่อน วิธีการทำงานแบบ Proactive หรือการทำงานแบบเชิงรุกนั้น มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆในชีวิตการทำงานในปัจจุบันอันเนื่องมาจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ ....อ่านต่อ
 
เทคนิคการเตรียมตัวสอบ PMP ในสภาวะที่เราต้องทำงานประจำ
สำหรับการเตรียมตัวสอบ PMP นั้น สิ่งสำคัญคือ การบริหารเวลา โดยเฉพาะบรรดา Project Manager มืออาชีพที่มีภาระค่อนข้างมากจากงานประจำ ผู้ที่จะต้องเตรียมตัวสอบนั้น ควรจัดทำแผนการอ่านหนังสือและการทำข้อสอบให้เหมาะสมกับเวลาของตัวเองและสามารถใช้ได้จริง ควรกำหนดวันที่สอบให้อยู่ภายใน 1-2 เดือนหลังจากวันที่เรียนจบคอร์สแล้ว เพราะถ้ากำหนดให้เร็วกว่านั้นความแม่นยำอาจจะยังไม่เพียงพอ หรือถ้าช้ากว่านั้นความมุ่งมั่นในการสอบก็จะหายไป ดังนั้นการบริหารเวลาในการอ่านหนังสือและการทำข้อสอบจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการสอบและการทำงานประจำของเราก็ไม่บกพร่องด้วยเช่นกัน....อ่านต่อ

PMP Exam Practice Questions
แบบฝึกหัดแนวข้อสอบ PMP Exam เพื่อใช้ในการฝึกฝนเตรียมตัวสอบ PMP
ชุดที่ 1            ชุดที่ 2 

ข้อสอบประเภทคำนวณ ในการสอบ PMP (ตอนที่ 4 :PTA – Point of Total Assumption)                  
โจทย์ข้อสอบ PMP ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณค่า PTA หรือ Point of Total Assumption นั้น จะเป็นข้อสอบที่อยู่ในเรื่อง Procurement Management โดยจะอ้างอิงสัญญาประเภท Cost Plus Incentive Fee (CPIF) หรือ Fixed Price Incentive Fee (FPIF) ที่จะมีการผูกเงื่อนไขการให้ Incentive กับ Seller ตาม Cost ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของโครงการ เช่น ดังตัวอย่าง...อ่านต่อ

ข้อสอบประเภทคำนวณ ในการสอบ PMP (ตอนที่ 1 : Earned Value)
ในการสอบ PMP นั้น มีข้อสอบด้วยกันทั้งหมด 200 ข้อ ใช้เวลาในการสอบ 4 ชั่วโมง โดยใน 200 ข้อนี้ จะมีข้อประเภทการคำนวณอยู่ประมาณ 10-15 % ซึ่จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง Earned Value , Communication Channels , Six Sigma , Expected Monetary Value , NPV , IRR , Payback Period , Critical Path Method แต่เรื่องที่ มีสัดส่วนการนำมาออกข้อสอบ มากที่สุด คือ Earned Value นั่นเอง ในบทความนี้ จะขอนำข้อสอบ PMP ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ Earned Value มาวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้สอบ PMP สามารถ ทำคะแนนในส่วนนี้ได้...อ่านต่อ

ข้อสอบประเภทคำนวณ ในการสอบ PMP (ตอนที่ 2 : Communication Channels)
ในบทความตอนที่แล้ว ได้วิเคราะห์โจทย์เรื่อง Earned Value ไว้ สำหรับในบทความนี้ จะขอนำโจทย์ประเภทการคำนวณ Communication Channels มาวิเคราะห์ เนื่องจาก ถึงแม้โจทย์ประเภทนี้ จะปรากฏในข้อสอบ PMP ไม่มาก จำนวนไม่เกิน 1-2 ข้อนั้น แต่เป็นโจทย์ที่ง่าย และออกสอบ เป็นประจำทุกครั้ง...อ่านต่อ

ข้อสอบประเภทคำนวณ ในการสอบ PMP (ตอนที่ 3 : Decision Tree)
โจทย์ข้อสอบ PMP ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ Decision Tree หรือ Expected Monetary Value (EMV) จะเป็นข้อสอบคำนวณที่ออกแน่นอนในการสอบ PMP แต่ละครั้ง ประมาณ 2-3 ข้อ ความยากของข้อสอบประเภทนี้ คือการตีความโจทย์ ออกมาเป็นแผนภูมิต้นไม้ โดยโจทย์จะกำหนดทางเลือกในแต่ละทางเลือกให้ และมีค่าของต้นทุนทางการเงิน ในแต่ละทางเลือก รวมถึงโอกาสเกิด ในแต่ละทางเลือก แล้วนำมาเขียนแผนภูมิต้นไม้ โดยความยากของ โจทย์ จะแตกต่างกันไปตามรูปแบบของ แผนภูมิต้นไม้...อ่านต่อ

มาทำความรู้จักกับ project sponsor กันเถอะ
ความจริงข้อหนึ่งที่คนทั่วโลกยอมรับและเห็นตรงกันคือ บุคคลที่มีความสำคัญมากในโครงการคือ project manager และหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆทั่วโลก ก็ให้ความสำคัญกับการอบรมและพัฒนาความรู้และทักษะของ project manager รวมถึงมีการวางมาตรฐานองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะทำงานเป็น project manager และใบรับรอง การเป็นผู้จัดการโครงการมืออาชีพ (PMP Certified) ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในธุรกิจหลายสาขาอาชีพในปัจจุบัน และในทางตรงกันข้าม สาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล้มเหลว นั่นคือ โครงการไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงในองค์กร  แต่ยังมีความจริงอีกข้อหนึ่งที่เป็นปัจจัยความสำเร็จของโครงการ ไม่แพ้ทักษะของ project manager นั่นคือ การมี project sponsor ที่ความเข้าใจในโครงการและสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่องจนโครงการประสบความสำเร็จ ...อ่านต่อ

แนวทางการสร้าง competency เพื่อการเป็นผู้จัดการโครงการมืออาชีพ - ตอนที่ 2 :  Corrective and Preventive Actions
Competency ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของ Professional Project Manager หรือผู้จัดการโครงการมืออาชีพ คือการพัฒนาและปรับปรุงงานของตนเองอยู่เสมอ   อ้างอิงถึงกระบวนการสำคัญตาม Project Management Body Of Knowledge (PMBOK) จะพบว่า PMBOK มุ่งเน้นให้ผู้จัดการโครงการมืออาชีพ มีความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดผลการปฏิบัติงานในโครงการของตนเอง เทียบกับแผนงานที่กำหนดไว้ และเมื่อผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงาน เช่น กิจกรรมล่าช้ากว่ากำหนด  ต้นทุนของโครงการเพิ่มขึ้น ขอบเขตของโครงการไม่ชัดเจนและมีแนวโน้มจะขยายออกไปอย่างไม่สิ้นสุด  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ  สิ่งส่งมอบไม่ได้ตามคุณภาพที่กำหนด หรือทีมงานไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามบทบาทหน้าที่ เป็นต้น  ...อ่านต่อ

แนวทางการสร้าง competency เพื่อการเป็นผู้จัดการโครงการมืออาชีพ - ตอนที่ 1 : Sense of Accountability
 Professional Project Manager หรือผู้จัดการโครงการมืออาชีพ นอกจากจะต้องมีองค์ความรู้ที่ครบถ้วนถูกต้อง และทักษะอันเป็นเลิศในการบริหารโครงการแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการ คือการสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน เนื่องจากการบริหารโครงการเกี่ยวข้องโดยตรงกับ ผู้คนหลากหลายบทบาทหน้าที่ หลากหลายความเชี่ยวชาญ หลากหลายวิธีคิด และหลายหลายความคาดหวัง การบริหารโครงการ จึงต้องอาศัยทัศนคติ ...อ่านต่อ

ความเสี่ยงในโครงการพัฒนาซอฟท์แวร์
โครงการพัฒนาซอฟท์แวร์ (Software Development) เป็นโครงการลักษณะหนึ่งที่มีความเสี่ยงในการดำเนินโครงการสูง อันมีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนในโครงการหลายๆด้าน อาทิเช่น ความต้องการไม่ชัดเจน เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความซับซ้อนของโครงการ มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการมาก เป็นต้น การที่โครงการมีความเสี่ยงสูง ย่อมส่งผลต่ออัตราความสำเร็จของโครงการ หากผู้จัดการโครงการและทีมงานมีการบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของโครงการ จะส่งผลให้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นลดลงทั้งในแง่ของโอกาสการเกิดปัญหาและผลกระทบของปัญหา   โดยส่วนใหญ่ รายการความเสี่ยงของโครงการพัฒนาซอฟท์แวร์ เป็นดังนี้ ...อ่านต่อ

การพัฒนาการบริหารโครงการในองค์กร
การพัฒนาการบริหารโครงการ ภายในองค์กรนั้น มีจุดประสงค์หลัก ในการเพิ่มความสามารถขององค์กรในการบริหารโครงการ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ และลดต้นทุนขององค์กร อันเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดจากการล้มเหลวของโครงการ
ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารโครงการ มาจาก 2 องค์ประกอบหลัก คือ
1.     องค์ความรู้และทักษะ ของผู้จัดการโครงการ และสมาชิกในโครงการ (Personal Competency)
2.     กระบวนการและเครื่องมือมาตรฐาน ในการบริหารโครงการ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ (Organization Maturity) ...อ่านต่อ

Project Stakeholder Management ใน PMBOK 5th Edition
PMBOK หรือ Project Management Body Of Knowledge ก็ได้เดินทางมาถึง Edition ที่ 5th ที่จะเริ่มใช้เป็นทางการสำหรับคนที่จะสอบ PMP หลังจากเดือนมิถุนายน 2556 นี้เป็นต้นไป PMBOK 5th มีจุดเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาจาก PMBOK 4th หลายประเด็น แต่ที่น่าสนใจก็คือ PMBOK 5th แยกองค์ความรู้เรื่อง Project Stakeholder Management หรือการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ ออกมาเป็นอีกหนึ่งองค์ความรู้ ส่งผลให้ PMBOK 5th มีองค์ความรู้ทั้งหมด 10 องค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการจะเป็นผู้บริหารโครงการมืออาชีพ หรือต้องการ PMP Certified (Project Management Professional) ...อ่านต่อ

ปัจจัยความสำเร็จของโครงการ
คำว่าปัจจัยความสำเร็จของโครงการ หรือ Project Success Factor นั้น หมายถึงสิ่งที่โครงการต้องมีหรือควรมีเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการนั้นมีมากมายหลายปัจจัย แต่หากเราให้ความสนใจกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการอย่างมีนัยสำคัญ เราเรียกปัจจัยเหล่านั้นว่า Critical Success Factor ซึ่งเป็นสิ่งที่ Project Manager มืออาชีพต้องตระหนักอย่างมากถึงวิธีการที่จะได้มาซึ่งปัจจัยเหล่านี้ เพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่มากขึ้นที่โครงการจะสำเร็จตามเป้าหมาย ...อ่านต่อ

เทคนิคการสอบเพื่อ Certified PMP
การสอบ Certified PMP นั้นจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดีทั้งในด้านการศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้องและการฝึกฝนทำข้อสอบซึ่งมีจำนวน 200 ข้อ เป็นข้อสอบแบบตัวเลือก 4 ตัวเลือกและเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยในบทความนี้จะขอนำเสนอแนวปฏิบัติที่ใช้ในการเตรียมตัวสอบ PMP เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการสอบ เพื่อนำมาประกอบในการทำงานในฐานะผู้บริหารโครงการ หรือใช้ในการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้ จากประสบการณ์การสอบ PMP และเป็นผู้บรรยายให้ผู้เรียนที่เตรียมตัวเพื่อเข้าสอบ PMP มานานหลายปี สามารถสรุปแนวปฏิบัติได้ดังนี้ครับ...อ่านต่อ

การบริหารโครงการสำคัญอย่างไร
เนื่องจากในภาวะการแข่งขันของธุรกิจปัจจุบัน เป็นไปอย่างรุนแรง รวดเร็วและแข่งขันกับเวลา องค์กรมีการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์กรอยู่ตลอดเวลา เพื่อแย่งชิงกันสร้างความได้เปรียบในเชิงธุรกิจเช่น การออกผลิตภัณฑ์และแผนการตลาดใหม่ การปรับปรุงกระบวนการทำงาน การปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งในปัจจุบันวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ต่างๆ สั้นลงมาก...อ่านต่อ

เส้นทางสู่การเป็นผู้จัดการโครงการมืออาชีพ
Project Manager หรือผู้จัดการโครงการ คือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการ บริหาร จัดการ วางแผนงาน มอบหมายงาน ผลักดัน ควบคุม ติดตามผล และแก้ไขปัญหาต่างๆในโครงการ รวมถึงเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานในโครงการ แต่ความแตกต่างระหว่าง ผู้จัดการโครงการทั่วไปกับผู้จัดการโครงการมืออาชีพนั้น แตกต่างกันด้วยองค์ประกอบหลักๆ 3 ประการ...อ่านต่อ

การใช้ Project Management Maturity Model ในการพัฒนาการการบริหารโครงการในองค์กร
ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารโครงการ นอกจากทักษะความสามารถของ Project Manager และทีมงานแล้ว ยังต้องอาศัยความพร้อมขององค์กรในการส่งเสริมให้การบริหารโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรส่วนใหญ่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารโครงการ (Personal Competency) โดยจะเห็นได้จากการจัดการอบรมบุคลากรอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการพัฒนาบุคลากรเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ...อ่านต่อ