จาก PMBOK 5th Edition สู่ PMBOK 6th Edition
และแล้ว PMBOK หรือ Project Management Body Of Knowledge ก็ได้เดินทางมาถึง Edition ที่ 6th Edition ที่ได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการสำหรับคนที่จะสอบ PMP หลังจาก วันที่ 26 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป โดย PMBOK 6th Edition มีจุดเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาจาก PMBOK 5th Edition ในหลายประเด็น เช่น จำนวน Process ทั้งหมด เพิ่มจากเดิม 47 Processes เป็น 49 Processes และมีการเปลี่ยนชื่อองค์ความรู้บางส่วน เช่น เปลี่ยนจาก Time Management เป็น Schedule Management รวมถึงมีการเพิ่มเทคนิคการบริหารโครงการแบบ Agile เข้ามาใน PMBOK 6th Edition นี้ด้วย เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงที่ดี เพื่อให้รองรับกับสภาพโครงการในปัจจุบันที่เน้นเรื่องการส่งมอบผลงานให้ลูกค้าอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และปรับตัวอย่างรวดเร็ว ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ PMBOK 6th Edition ยังเน้นย้ำบทบาทหน้าที่ของ Project Manager มากขึ้น โดยแยกเรื่องบทบาทหน้าที่ของ Project Manager ออกมาเป็นอีกหนึ่ง Chapter ก่อนเข้าสู่องค์ความรู้ทั้ง 10 องค์ความรู้ บทความนี้จะขออธิบายจุดที่เปลี่ยนแปลงไป จาก PMBOK 5th Edition สู่ PMBOK 6th Edition ดังนี้
PMBOK 5th Edition | PMBOK 6th Edition | |
1. | องค์ความรู้เรื่อง Time Management มี Processes ทั้งหมด 7 Processes ดังนี้
|
เปลี่ยนชื่อเป็น Schedule Management และ ย้าย Process เรื่อง Estimate Activity Resources ไปอยู่ในองค์ความรู้เรื่อง Resource Management ดังนั้นจะเหลือเพียงแค่ 6 Processes ดังนี้
เหตุผลที่ย้ายไปเนื่องจาก การ Estimate Activity Resources นั้น มีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง Schedule ค่อนข้างน้อย แต่จะเกี่ยวกับ Resource Management มากกว่า
|
2. | องค์ความรู้เรื่อง Human Resource Management จะสนใจเฉพาะ Resource ในโครงการที่เป็น ทรัพยากรมนุษย์ เท่านั้น โดยมี 4 Processes ดังนี้
|
เปลี่ยนชื่อจาก Human Resource Management เป็น Resource Management และขยายขอบเขตการจัดการเป็น การจัดการ Resource ทุกประเภทในโครงการ ทั้งทรัพยากรมนุษย์ และ Physical resource และ Service ต่างๆที่ใช้ในโครงการ โดยมี 6 Processes ดังนี้
|
3. |
องค์ความรู้เรื่อง Integration Management มี Process ทั้งหมด 6 Processes ดังนี้
|
มีการเพิ่ม Process ใหม่ ขึ้นมาอีก 1 Process รวมเป็น 7 Processes ดังนี้
|
4. | องค์ความรู้เรื่อง Quality Management มี Process ทั้งหมด 3 Processes ดังนี้
|
องค์ความรู้เรื่อง Quality Management มี Process ทั้งหมด 3 Processes ดังนี้
|
5. | องค์ความรู้เรื่อง Communication Management มี Process ทั้งหมด 3 Processes ดังนี้
|
องค์ความรู้เรื่อง Communication Management มี Process ทั้งหมด 3 Processes ดังนี้
|
6. | องค์ความรู้เรื่อง Risk Management มี Process ทั้งหมด 6 Processes ดังนี้
|
องค์ความรู้เรื่อง Risk Management มี Process ทั้งหมด 7 Processes ดังนี้
องค์ความรู้นี้ มีการแยกการ Implement Risk Response ออกมาจาก Control Risks และเปลี่ยนชื่อ Control Risks เป็น Monitor Risks
|
7. |
องค์ความรู้เรื่อง Procurement Management มี Process ทั้งหมด 4 Processes ดังนี้
|
องค์ความรู้เรื่อง Procurement Management มี Process ทั้งหมด 3 Processes ดังนี้
องค์ความรู้นี้ มีการตัด Close Procurement ใน PMBOK 5th ทิ้งไป และนำไปรวมใน Control Procurement เลย เพื่อให้กระชับและเข้าใจง่าย และจากการวิจัย พบว่า Project Manager ส่วนใหญ่ไม่ได้มีหน้าที่ในการปิดสัญญาด้วยตนเอง แต่จะทำข้อมูลสรุปส่งต่อให้ฝ่ายจัดซื้อหรือฝ่ายกฎหมายทำหน้าที่ปิดสัญญา
|
8. |
องค์ความรู้เรื่อง Stakeholder Management มี Process ทั้งหมด 4 Processes ดังนี้
|
องค์ความรู้เรื่อง Stakeholder Management มี Process ทั้งหมด 4 Processes ดังนี้
|
9. | PMBOK 5th Edition ไม่ได้เน้นเรื่องการบริหารโครงการ โดยประยุกต์ใช้ Agile Methodology มากนัก แต่จะเน้น Process หรือลำดับงานในการบริหารโครงการ | PMBOK 6th Edition มีการประยุกต์ใช้ Agile Methodology มาใช้ในการบริหารโครงการ เพื่อให้รองรับกับสภาพโครงการในปัจจุบัน ที่เน้นเรื่องการส่งมอบผลงานให้ลูกค้าอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และปรับตัวอย่างรวดเร็ว ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยหนังสือ PMBOK 6th Edition จะขายคู่กับหนังสือ Agile Practice Guide ของ PMI ซึ่งเนื้อหาจะเหมาะกับการเริ่มต้นศึกษา Agile Methodology หรือ ผู้ที่จะเตรียมสอบ PMI-ACP (Agile Certified Practitioner) |
ไพบูลย์ ปัญญายุทธการ (PMP)