ความเสี่ยงในโครงการพัฒนาซอฟท์แวร์

โครงการพัฒนาซอฟท์แวร์ (Software Development) เป็นโครงการลักษณะหนึ่งที่มีความเสี่ยงในการดำเนินโครงการสูง อันมีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนในโครงการหลายๆด้าน อาทิเช่น ความต้องการไม่ชัดเจน เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความซับซ้อนของโครงการ มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการมาก เป็นต้น การที่โครงการมีความเสี่ยงสูง ย่อมส่งผลต่ออัตราความสำเร็จของโครงการ หากผู้จัดการโครงการและทีมงานมีการบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของโครงการ จะส่งผลให้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นลดลงทั้งในแง่ของโอกาสการเกิดปัญหาและผลกระทบของปัญหา

โดยส่วนใหญ่ รายการความเสี่ยงของโครงการพัฒนาซอฟท์แวร์ เป็นดังนี้

1. ความเสี่ยงด้านเทคนิค
   1.1   การออกแบบระบบที่ไม่เหมาะสม และขาดการพิจารณาผลกระทบของระบบในภาพรวม
   1.2   การทดสอบระบบ ที่ไม่ครอบคลุมครบถ้วนในทุก Test Case และไม่เป็นมาตรฐาน
   1.3   การพัฒนาระบบที่ซ้ำซ้อน โดยมิได้พิจารณาถึงระบบหรือฟังก์ชั่นที่มีอยู่เดิม

   1.4   เกิด Bugs หรือ Defects
   1.5   ขาดการนำ Bugs หรือ Defects มาวิเคราะห์หาสาเหตุ และกำหนดวิธีการป้องกันและแก้ไข
   1.6   การแก้ไข Defect ใหม่ ส่งผลให้ Defect เดิมที่เคยแก้ไขไปแล้วกลับมาในระบบอีกครั้ง
   1.7   ขาดการทดสอบด้านความปลอดภัยสารสนเทศ
   1.8   เกิดความผิดพลาดในขั้นตอนการติดตั้งระบบ
   1.9   เกิด Incident จำนวนมากหลังจากนำระบบไปใช้งานจริง
   1.10 Capacity ของระบบ ไม่สามารถรองรับการทำงานของระบบใหม่


2. ความเสี่ยงด้านการบริหารโครงการ
   2.1  ความล่าช้าของการจัดซื้อและส่งมอบ Hardware หรือ Software
   2.2  ทีมงานในโครงการ ขาดทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นในการทำงาน
   2.3  การลาออกของพนักงานที่มีบทบาทสำคัญในโครงการ
   2.4  ไม่สามารถจัดจ้าง Outsource ได้ตามความต้องการจากข้อจำกัดในเงื่อนไขสัญญาและการสรรหา Outsource ในบริการเฉพาะด้าน
   2.5  ทรัพยากรในโครงการ ไม่เพียงพอ
   2.6  ต้องใช้ทรัพยากรร่วมกับโครงการอื่น
   2.7  แผนงานของโครงการไม่ชัดเจน
   2.8  ขาดการควบคุมและติดตามงานให้เป็นไปตามแผนงาน
   2.9  ขาดการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ (Key Stakeholders)
   2.10 ขาดประเมินและติดตามแก้ไขความเสี่ยงโครงการ

3. ความเสี่ยงด้านลูกค้า
   3.1  Requirement จากลูกค้าที่ไม่ชัดเจน
   3.2  ลูกค้าขอเปลี่ยนหรือเพิ่ม Requirement ระหว่างดำเนินโครงการ
   3.3  ผู้ทดสอบฝั่งลูกค้า มีงานอื่นที่ต้องดำเนินการ ไม่มีเวลาในการทดสอบระบบ
   3.4  ผู้ใช้งานขาดทักษะในการใช้งานระบบใหม่

   3.5  ผู้ใช้งานเคยชินกับระบบเก่าและต่อต้านการใช้ระบบใหม่
   
4. ความเสี่ยงด้านผู้ขาย
   4.1  Vendor ขาดประสบการณ์ที่จำเป็นในการดำเนินโครงการ
   4.2  Vendor ขาดทีมงานในการดำเนินโครงการ
   4.3  Vendor มีความเข้าใจในขอบเขตของงาน ต่างจากความคาดหวังของทีมงานในโครงการ
   4.4  Vendor ขาดการตรวจสอบคุณภาพ ก่อนส่งมอบงาน

   4.5  Vendor ส่งมอบงานล่าช้า

5. ความเสี่ยงด้านกฏระเบียบ
   5.1  ระบบไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของทั้งทางภาครัฐและลูกค้า
 
   5.2  ระบบไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสถาปัตยกรรมขององค์กร
   5.3  ระบบไม่สอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศขององค์กร
   5.4  ขาดการจัดทำเอกสารตามกระบวนการมาตรฐานขององค์กร
   5.5  ขาดการปฏิบัติตามกฏระเบียบของหน่วยงานกำกับจากภายนอก

 
 
                                                       อรินทรา ปัญญายุทธการ (PMP)