แนวข้อสอบ PMP ที่เปลี่ยนแปลงไป หลังวันที่ 11 January 2016

หลังจากวันที่ 11 January 2016 โครงสร้างของข้อสอบ PMP หรือที่เราเรียกกันว่า Exam Content Outline จะมีการปรับเปลี่ยนไป แต่ผู้ที่ต้องการสอบ PMP ยังคงสามารถ ใช้ หนังสือ PMBOK 5th Edition ในการอ่านเพื่อเตรียมตัวสอบได้เหมือนเดิม เพียงแต่ต้องเรียนรู้ Exam Content Outline ใหม่ของ PMI เพิ่มเติม เพื่อทราบแนวข้อสอบใหม่ หลายท่านมีข้อสงสัยว่า Exam Content Outline นั้น มีความเกี่ยวข้องและความแตกต่างอย่างไรกับ PMBOK 5th Edition โดยในบทความนี้ จะอธิบายความแตกต่างระหว่าง Exam Content Outline และ PMBOK 5th Edition รวมถึง อธิบายถึง Exam Content Outline เวอร์ชั่นใหม่ ที่ PMI ใช้ในการออกข้อสอบ PMP ในวันที่ หลัง 11 January 2016 เพื่อให้ผู้สอบสามารถทราบแนวข้อสอบและ กำหนดวิธีการในการเตรียมตัวเพื่อให้สอบผ่าน PMP ดังนี้
PMBOK หรือ Project Management Body of Knowledge นั้น ปัจจุบัน เป็น Version 5th เป็นหนังสือที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านการบริหารโครงการที่สำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางที่ดีในการบริหารโครงการ ผู้สอบ PMP จำเป็นต้องอ่านและทำความเข้าใจ PMBOK ให้เชี่ยวชาญ แต่ PMBOK ไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว ที่ผู้สอบ PMP ต้องอ่านเพื่อเตรียมสอบ PMP หนังสือที่แนะนำให้อ่าน อีกเล่มหนึ่งคือ PMP Exam Prep 8th Edition ของ ผู้แต่ง Rita Mulcahy โดยผู้เตรียมตัวสอบ ควรอ่าน PMBOK 5th Edition เป็นลำดับแรกก่อน แล้วจึงทำความเข้าใจเพิ่มเติม จากหนังสือ PMP Exam Prep 8th Edition ของ ผู้แต่ง Rita Mulcahy
Exam Content Outline คือเอกสารที่อธิบายถึงโครงสร้างแนวข้อสอบ PMP ซึ่งทาง PMI ได้มีการเพิ่มเติมและปรับปรุงเนื้อหาล่าสุดเมื่อเดือน June 2015 (เวอร์ชั่นเดิมคือ August 2011) และเริ่มนำมาใช้จริงกับข้อสอบ PMP หลังวันที่ 11 January 2016 เป็นต้นมา การศึกษา Exam Content Outline จะมีประโยชน์ ในแง่ของการคาดการณ์ถึงแนวข้อสอบ PMP โดยสาระสำคัญของเอกสารกล่าวถึง
 
  •     สัดส่วนของเนื้อหาข้อสอบทั้งหมดในแต่ละ Domain (กลุ่มของกระบวนการบริหารโครงการ) ประกอบด้วย Initiating, Planning, Executing, Monitoring & Controlling, Closing  
  •     Task (หน้าที่ของผู้จัดการโครงการ) ในแต่ละ Domain
  •     Knowledge and Skill (องค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นของผู้จัดการโครงการ) ในแต่ละ Domain
สัดส่วนของข้อสอบทั้งหมดในแต่ละ Domain มีเนื้อหาดังนี้
Domain สัดส่วนของเนื้อหาข้อสอบ
1. Initiating
13%
2. Planning 24%
3. Executing 31%
4. Monitoring and Controlling
25%
5. Closing 7%
Total 100%
โดยรายละเอียดของข้อสอบ ในแต่ละ Domain นั้น จะเกี่ยวข้องกับ Task ต่างๆ ดังนี้

Domain 1 - Initiating (13%)
หมายเลข Task คำอธิบาย การเปลี่ยนแปลงจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
Task 1
การประเมินสภาพปัจจุบันขององค์กร ที่ส่งผลกระทบต่อโครงการ เช่น ข้อมูล lessons learned ของ โครงการที่แล้ว ประชุมและสื่อสารกับ stakeholder ที่เกี่ยวข้องเพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลที่มีผลกระทบต่อโครงการ เพื่อนำมาประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ และเพื่อทราบข้อจำกัดและข้อสันนิษฐานต่างๆ ในการดำเนินโครงการต่อไป
แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 2 ระบุและสร้างความชัดเจนใน key deliverables ของโครงการ ซึ่งตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ โดยมุ่งเน้นที่การบริหารความคาดหวังของลูกค้า และการสร้างความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการ (project goals) ที่กำหนดไว้ Task ใหม่ที่เพิ่มจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
Task 3 ทำการวิเคราะห์ stakeholders ในโครงการโดยใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสม เพื่อบริหารความคาดหวังและได้รับการสนับสนุนจาก stakeholders  
Task 4 ระบุความเสี่ยงที่มีระดับสูง ข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของโครงการ โดยพิจารณาจากสถานการ์ปัจจุบัน ปัจจัยที่สำคัญภายในองค์กร ข้อมูลในอดีต และการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน (implementation strategy) ของโครงการ แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 5 มีส่วนร่วมในการจัดทำ project charter โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อทำให้แน่ใจว่า stakeholders ของโครงการเห็นพ้องต้องกันกับเนื้อหาที่ระบุใน project charter แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 6 ได้รับการอนุมัติ project charter จาก project sponsor หรือ senior management เพื่อมอบอำนาจอย่างเป็นทางการในการบริหารโครงการให้กับ project  manager  
Task 7 ประสานงานกับ Stakeholders เพื่อจัดทำ benefit analysis และทำให้มั่นใจว่าประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนั้นสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร(organizational strategy) และก่อให้เกิด business value ตามที่กำหนดไว้ Task ใหม่ที่เพิ่มจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
Task 8 สื่อสารให้ stakeholders ต่างๆ ทราบ เมื่อ project charter ได้รับการอนุมัติแล้ว เพื่อให้ทุกคนเข้าใจภาพของโครงการที่ตรงกัน ทั้งในเรื่องของ key deliverables ที่สำคัญ milestones ต่างๆ ในโครงการ รวมถึงบทบาทละหน้าที่ของแต่ละคนในโครงการ Task ใหม่ที่เพิ่มจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
  Knowledge และ Skills ที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมข้างต้น
  • Analytical skills
  • Benefit analysis techniques
  • Elements of project charter
  • Estimation tools and techniques
  • Strategic management
 

Domain 2 - Planning (24%)
หมายเลข Task คำอธิบาย การเปลี่ยนแปลงจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
Task 1 ประเมินถึงรายละเอียดความต้องการของโครงการ ข้อจำกัด และสมมติฐานต่างๆร่วมกับ stakeholders ในโครงการ โดยพิจารณาจาก project charter ของโครงการ lesson learned ที่เกิดขึ้นในอดีต และการประยุกต์ใช้เทคนิคเพื่อรวบรวมข้อมูลของโครงการ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้เพื่อการลงรายละเอียดของ project deliverables ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  
Task 2 จัดทำ scope management plan จากขอบเขตของโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว และประยุกต์ใช้เทคนิคต่างๆ ของ scope management เพื่อให้สามารถกำหนด ควบคุม และบริหารขอบเขตของโครงการได้ แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 3 จัดทำ cost management plan จากขอบเขตของโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน ทรัพยากรของโครงการ และ project charter ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว เพื่อบริหารต้นทุนของโครงการ  
Task 4 จัดทำ project schedule จาก project charter ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว
เพื่อบริหารเวลาของโครงการ รวมถึง milestones ต่างๆ ในโครงการ ขอบเขตของโครงการ และ resource management plan เพื่อบริหารงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
 
Task 5 จัดทำ human resource management Plan โดยกำหนดบทบาทละหน้าที่ของแต่ละคนในโครงการ เพื่อกำหนดแผนผังโครงสร้างทีมงานในโครงการ รวมถึงจัดเตรียมแนวทางการกำหนดการใช้งานบุคลากรให้เหมาะสมและการบริหารบุคลากรในโครงการ แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 6 จัดทำ communication management plan จากแผนผังโครงสร้างทีมงานในโครงการและความต้องการของ stakeholders ในโครงการ เพื่อกำหนดวิธีการสื่อสารข้อมูลระหว่างกันในโครงการ  
Task 7 จัดทำ procurement  management plan จากขอบเขต งบประมาณ และระยะเวลาของโครงการ เพื่อทำให้แน่ใจว่าทรัพยากรของโครงการมีเพียงพอต่อการใช้งาน  
Task 8 จัดทำ quality management plan และกำหนดมาตรฐานของคุณภาพของโครงการ จากขอบเขต ความเสี่ยง และความต้องการของโครงการ เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดและต้นทุนที่เกิดจาดข้อผิดพลาดจาการดำเนินงานในโครงการ แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 9 จัดทำ change management plan โดยกำหนดแนวทางการควบคุมการเปลี่ยนแปลง เพื่อใช้ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโครงการ  
Task 10 จัดทำ risk management plan ระบุความเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยงในโครงการ สร้าง risk register และวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดการดำเนินงานของโครงการ  
Task 11 นำเสนอ project  management plan ต่อ stakeholder ที่เกี่ยวข้อง และขออนุมัติเพื่อดำเนินการตามแผนงาน  
Task 12 จัดประชุม kick-off meeting เพื่อสื่อสารแผนงานของโครงการ ให้ stakeholders รับทราบ และสร้างให้เกิดการสนับสนุนจาก stakeholders แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 13 จัดทำ stakeholder management plan โดยวิเคราะห์ความต้องการ ส่วนได้ส่วนเสีย และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารความคาดหวังของ stakeholders รวมถึงการร้องขอให้ stakeholders เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการ Task ใหม่ที่เพิ่มจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
  Knowledge และ Skills ที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมข้างต้น
  • Change management planning
  • Cost management plan, project budget control and techniques
  • Communication planning
  • Contract types and selection criteria
  • Estimation tools and techniques
  • Human resource planning
  • Lean and efficiency principles
  • Procurement planning
  • Quality management planning
  • Requirement gathering techniques such as planning sessions, brainstorming, focus group)
  • Regulatory and environmental impacts assessment planning
  • Risk management planning
  • Scope deconstruction such as WBS, Scope backlog or tools and techniques
  • Scope management planning
  • Stakeholder management planning
  • Time management planning,  including scheduling tools and techniques
  • Workflow diagramming techniques
 

Domain 3 - Executing (31%)
หมายเลข Task คำอธิบาย การเปลี่ยนแปลงจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
Task 1 จัดหาและบริหารทรัพยากรบุคคลที่ต้องใช้ในโครงการ รวมถึงบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้ได้ทรัพยากรที่จำเป็นและตรงกับความต้องการของโครงการ แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 2 บริหารงานในโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเป็นทั้งผู้นำและผู้พัฒนาความสามารถของทีมงาน เพื่อให้สามารถส่งมอบงานได้ แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 3 ดำเนินการตาม quality management plan โดยเลือกใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่ส่งมอบนั้นมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  
Task 4 ดำเนินการตาม change requests ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ตามที่กำหนดใน change management plan เพื่อให้ตรงกับความต้องการของโครงการ  
Task 5 ดำเนินการตามกิจกรรม ตามที่กำหนดใน risk management plan เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยงและใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นในโครงการ  
Task 6 บริหารจัดการ การสื่อสารข้อมูลในโครงการตาม communication plan
เพื่อให้ stakeholders ได้รับทราบข้อมูลของโครงการ
Task ใหม่ที่เพิ่มจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
Task 7 บริหารความสัมพันธ์กับ Stakeholders เพื่อให้โครงการได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก stakeholders Task ใหม่ที่เพิ่มจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
  Knowledge และ Skills ที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมข้างต้น
  • Continuous improvement processes
  • Contract management techniques
  • Elements of a statement of work
  • Interdependencies among project elements
  • Project budgeting tools and techniques
  • Quality standard tools
  • Vendor management techniques
 

Domain 4 - Monitoring and Controlling (25%)
หมายเลข Task คำอธิบาย การเปลี่ยนแปลงจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
Task 1 วัดผลการดำเนินงานของโครงการ โดยเลือกใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสม เพื่อให้ทราบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผน และกำหนดกิจกรรมเพื่อการแก้ไข  
Task 2 บริหารการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโครงการ ตามที่กำหนดใน change management plan เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ และสอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ (business needs) แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 3 ตรวจสอบ project deliverables ให้เป็นไปตามมาตรฐานของคุณภาพของโครงการตามที่ถูกระบุใน quality management plan โดยเลือกใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของโครงการและความต้องการทางธุรกิจ (business needs) แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 4 ติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินความเสี่ยง โดยกำหนดความเสี่ยงที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงประเมินประสิทธิภาพของการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าความเสี่ยงของโครงการอยู่ในระดับที่ยอมรับและสามารถบริหารจัดการได้ แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 5 ตรวจติดตามปัญหาต่างๆ ในโครงการ และกำหนดกิจกรรมเพื่อการแก้ไข โดยเลือกใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสม เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงการ  
Task 6 รวบรวม วิเคราะห์ และจัดการ lesson learned ของโครงการ รวมถึงการเลือกใช้เทคนิคการจัดการ lesson learned ที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำหรับการบริหารโครงการในอนาคต Task ใหม่ที่เพิ่มจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
Task 7 ติดตาม เฝ้าระวัง และควบคุม กิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างกับ vendor ตามที่กำหนดใน procurement plan เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการ Task ใหม่ที่เพิ่มจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
  Knowledge และ Skills ที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมข้างต้น
  • Performance measurement and tracking techniques (EV , CPM , PERT , Trend Analysis)
  • Process Analysis Techniques (LEAN , Kanban , Six Sigma)
  • Project Control Limits (Thresholds , Tolerance)
  • Project Finance Principles
  • Project Monitoring and Control Techniques
  • Project quality best practice and standards (ISO , BS , CMMI , IEEE)
  • Quality management tools
  • Risk identification and analysis techniques
  • Risk response techniques
  • Quality validation and verificat
 

Domain 5 - Closing (7%)
หมายเลข Task คำอธิบาย การเปลี่ยนแปลงจาก Exam Content Outline เวอร์ชั่นเก่า
Task 1 ตรวจรับงานโครงการและยืนยันกับ stakeholders ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่า โครงการสำเร็จตามขอบเขตที่กำหนด  
Task 2 ส่งมอบงานในโครงการให้กับ stakeholders ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อดำเนินการปิดโครงการ  
Task 3 ดำเนินการปิดโครงการในมุมต่างๆ เช่น ปิดสัญญาโครงการ สรุปสถานะทางการเงินเพื่อจบโครงการ เพื่อที่จะสื่อสารถึงการปิดโครงการอย่างเป็นทางการและทำให้มั่นใจว่าได้มีการส่งมอบภาระที่ยังมีอยู่ให้กับ stakeholders ที่ได้รับมอบหมายต่อไป แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 4 จัดเตรียมรายงานของโครงการตามที่กำหนดไว้ใน communication management plan เพื่อใช้ประกอบการประเมินผลโครงการ แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 5 รวบรวม สรุป และจัดทำเอกสารเกี่ยวกับ lessons learned ตลอดทั้งโครงการ เพื่อใช้ปรับปรุงฐานความรู้สำหรับองค์กรให้พร้อมใช้งานกับโครงการถัดไปในอนาคต แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
Task 6 จัดระเบียบและเก็บรวบรวมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ของโครงการ เพื่อรองรับการตรวจสอบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  
Task 7 รวบรวมข้อคิดเห็นต่างๆ จาก stakeholders ที่เกี่ยวข้องเมื่อจบโครงการ โดยเลือกใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสม ตามที่กำหนดใน stakeholder management plan เพื่อประเมินความพึงพอใจของ stakeholders แก้ไขส่วนที่ขีดเส้นใต้ใน Task นี้จากเวอร์ชั่นเก่า
  Knowledge และ Skills ที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมข้างต้น
  • Archiving practices and statutes
  • Compliance (statute/organization)
  • Contract closure requirement
  • Close-out procedures
  • Feedback techniques
  • Performance measurement techniques (KPI and Key success factors)
  • Project review techniques
  • Transition planning techniques
 

จากคำอธิบายข้างต้น พบว่า มี Task ใหม่ที่เพิ่มจาก Exam Content Outline เดิม ดังนี้
Domain Task ใหม่ที่เพิ่มจาก Exam Content Outline
เวอร์ชั่นเก่า
1. Initiating Task 2,7,8
2. Planning Task 13
3. Executing Task 6,7
4. Monitoring and Controlling Task 6,7
5. Closing -

ข้อสังเกตของการปรับปรุงเนื้อหาของ Task ใน Exam Content Outline เวอร์ชั่นนี้ พบว่ามีหลายประเด็น (โดยเฉพาะข้อ 1-4 ที่กล่าวถึงบ่อยครั้ง) ซึ่งผู้สอบต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ดังนี้
  1. Lesson learned management
  2. Communication, engagement and maintenance expectation as well as relationship with stakeholders
  3. Business strategy, business need, business value and benefit analysis
  4. Project charter, project goal and project requirement
  5. Scope management plan (จากเดิมที่เน้นการสร้าง work break down structure แต่เวอร์ชั่นปัจจุบันให้ความสำคัญของการจัดทำ scope management plan)
  6. Quality standard (จากเดิมที่ไม่ได้มุ่งเน้นเนื้อหาดังกล่าว แต่เวอร์ชั่นปัจจุบันให้ความสำคัญของการระบุ quality standard ใน quality management plan)
  7. Human resource assignment, leading and developing team (จากเดิมที่ไม่ได้มุ่งเน้นเนื้อหาดังกล่าว แต่เวอร์ชั่นปัจจุบันให้ความสำคัญในการเรื่องของการเลือกใช้คนให้เหมาะสมกับงาน  การเป็นผู้นำที่ดี รวมถึงการพัฒนาทีมงานให้มีความสามารถในการดำเนินโครงการได้เป็นอย่างดี)
  8. Risk exposure and response strategies (จากเดิมที่พิจารณาเฉพาะความเสี่ยงใหม่และความเสี่ยงเดิมที่มีอยู่ แต่เวอร์ชั่นปัจจุบันให้ความสำคัญในการพิจารณาความเสี่ยงที่อาจจะเปลี่ยนแปลงและแนวทางในการรับมือกับความเสี่ยงดังกล่าว
  9. Monitoring in procurement activities (จากเดิมไม่ได้กล่าวถึงว่าเป็นหน้าที่หลักที่ผู้จัดการโครงการต้องทำ แต่เวอร์ชั่นปัจจุบันได้เพิ่มเติมหน้าที่ดังกล่าวขึ้นให้กับผู้จัดการโครงการ)
 
                                                                                               สุทธิพันธ์ ศรีเกษมวงศ์, PMP
                                                                                               ไพบูลย์ ปัญญายุทธการ, PMP