เทคนิคการทำ Project Schedule mCopression

      เทคนิคการทำ Project Schedule Compression คือ เทคนิคในการลดระยะเวลาของการดำเนินงานในโครงการ ให้เสร็จเร็วขึ้น ใช้ในกรณีที่ Project Manager ต้องการเร่งรัดงานในโครงการ โดยไม่มีการลดขอบเขตงาน หรือกล่าวโดยให้เข้าใจง่ายคือ Project Manager ต้องการลด Project Time โดยไม่ลด Project Scope นั่นเอง  อ้างอิงตาม Project Management Body Of Knowledge (PMBOK) นั้น  เทคนิคการทำ Schedule Compression มีด้วยกัน 2 วิธี ดังนี้

  1. เทคนิคการทำ Project Schedule Compression โดยการ Fast Tracking ทำโดยการเปลี่ยนลำดับของกิจกรรมproject management, pm training, อบรม pmp, pmpในโครงการ จากที่เคยทำงานแบบต่อเนื่องกัน ให้เปลี่ยนมาเป็น ทำงานแบบพร้อมๆกัน  เช่น  โครงการมีกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ ทาสีห้อง และ ปูพรมพื้นห้อง  และ Project Manager กำหนดให้ ทาสีเสร็จก่อน แล้วจึงเริ่มปูพรมที่พื้นห้อง  แต่หาก Project Manager ต้องการเร่งรัดงานให้ใช้เวลาน้อยลง และตัดสินใจใช้เทคนิคการทำ Schedule Compression แบบ Fast Tracking นั้น การทาสีห้อง และปูพรมพื้นห้อง ก็จะถูกดำเนินการไปพร้อมๆกัน เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น วิธีการดังกล่าว ไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำงานเพิ่ม แต่อาจจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในด้านคุณภาพของโครงการ เช่น สีอาจจะทำให้พรมเสียหาย  และอาจจะส่งผลต่อต้นทุนของโครงการ อันเนื่องมาจาก การแก้ไขข้อผิดพลาดของการทำงาน ที่มีผลมาจากการเปลี่ยนลำดับของกิจกรรมในโครงการ   
     
  2. เทคนิคการทำ Project Schedule Compression โดยการ Crashing ทำโดยการเร่งรัดงานในโครงการ ให้แต่ละกิจกรรมเสร็จเร็วขึ้น โดยไม่เปลี่ยนลำดับงานในแต่ละกิจกรรม แต่จะใช้วิธีเพิ่มทรัพยากรเข้าไปในกิจกรรมต่างๆ knowledger, pm training, project managementเพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น หากอ้างอิงถึงตัวอย่างข้างต้นนั้น  เทคนิคการ Crashing จะหมายถึง การเพิ่มคนในการทาสีห้องเพื่อให้กิจกรรมการทาสี เสร็จเร็วขึ้น หรือการเพิ่มคนในการปูพรมพื้นห้องให้เสร็จเร็วขึ้น โดยยังคงทำงานตามลำดับกิจกรรมเดิม คือ ทาสีเสร็จก่อน แล้วจึงเริ่มปูพรมที่พื้นห้อง เทคนิคดังกล่าวนั้น ไม่มีความเสี่ยงในเรื่องคุณภาพของงาน เนื่องจาก ลำดับกิจกรรมยังคงเหมือนเดิม แต่จะมีความเสี่ยงในเรื่องการเพิ่มต้นทุนของโครงการ และหากเป็นกิจกรรมที่ไม่สามารถจะทำให้เร็วขึ้นได้ ถึงแม้จะเพิ่มทรัพยากรเข้าไปแล้วก็ตาม ก็จะไม่สามารถใช้เทคนิค Crashing ช่วยทำให้โครงการเร็วขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น  ในโครงการ พัฒนา Software นั้น  การเพิ่มจำนวน Programmer เข้าไปในโครงการ ก็อาจจะไม่ได้ช่วยให้กิจกรรมการพัฒนา Program เร็วขึ้น หาก Programmer ไม่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้งาน
เทคนิคการทำ Schedule Compression ทั้ง 2 วิธีนั้น มีผลกระทบต่อโครงการเสมอ ในด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้น หาก Project Manager มีความจำเป็นต้องเร่งรัดงานในโครงการให้เสร็จเร็วขึ้นนั้น  ก่อนที่จะเลือกใช้ เทคนิคทั้ง 2 วิธีข้างต้น  Project Manager จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลดังนี้
  • รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่างๆในโครงการ
  • ลำดับของกิจกรรมในโครงการ
  • ทรัพยากรที่แต่ละกิจกรรมในโครงการต้องใช้
  • กิจกรรมจะเสร็จเร็วขึ้นหรือไม่หากเพิ่มทรัพยากรเข้าไป
  • โครงการจะเสร็จเร็วขึ้น โดยการเร่งรัดงานที่กิจกรรมใด (ต้องเป็นกิจกรรมใน Critical Path)
  • ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หากปรับเปลี่ยนลำดับของงาน
  • ประเมินสิ่งที่จะได้ จากการเพิ่มทรัพยากรเข้าไปในแต่ละกิจกรรม
  • ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหากต้องเพิ่มทรัพยากรเข้าไปในแต่ละกิจกรรม

แล้วจึงเลือกใช้เทคนิควิธีทั้ง 2 ตามความเหมาะสมเพื่อให้โครงการ มีระยะเวลาในการทำงานลดลง และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด ทั้งในเรื่องคุณภาพ และต้นทุนที่เพิ่มในโครงการ  การใช้เทคนิคทั้ง 2 วิธีนั้น Project Manager ควรพิจารณาประยุกต์ใช้ทั้ง 2 วิธีให้เหมาะกับบริบทของแต่ละกิจกรรมในโครงการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
 
                                                                                             ไพบูลย์ ปัญญายุทธการ PMP