Silo Culture อุปสรรคสำคัญของการบริหารโครงการ
Silo Culture หรือ วัฒนธรรมการทำงานแบบ ไซโล คือพฤติกรรม ของการทำงาน แบบแยกส่วนงาน โดยฝ่ายงานหรือแผนกงานต่างๆ ในองค์กร จะทำงานเฉพาะ Job Description ของหน่วยงานตนเองเท่านั้น ไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน สร้างกระบวนการที่เป็นอุปสรรคในการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ยึดถือเป้าหมายเฉพาะส่วนงานของตนเอง แต่ไม่สนใจเป้าหมายในภาพรวมขององค์กร ซึ่งจะส่งผลต่อการบริหารโครงการ อย่างไร
Silo Culture เป็นอุปสรรคสำคัญ อันดับต้นๆ ของการพัฒนาการบริหารโครงการ ในองค์กร อันเนื่องมาจาก การบริหารโครงการ เป็นงานที่มีลักษณะ Cross Functional Job หรืองานที่ต้องอาศัยความร่วมไม้ร่วมมือ จากหลายๆฝ่ายงานในองค์กร เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ตัวอย่างเช่น โครงการพัฒนาสินค้าใหม่ของบริษัท ก็จำเป็นจะต้อง ได้รับความร่วมมือ เพื่อทำงานร่วมกัน ระหว่าง ฝ่าย R&D ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการเงิน หรือ โครงการพัฒนา Software Application ก็ต้องเป็นการทำงานสอดประสานกัน ระหว่าง ฝ่ายไอที และ ฝ่ายธุรกิจ เป็นต้น
Project Manager ที่โชคดี ที่ได้ทำงานในองค์กร ที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบ Cross Function อยู่แล้ว ก็จะสามารถส่งมอบงานโครงการได้ง่ายขึ้น เนื่องจากทุกฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือร่วมใจ ในการทำงานเพื่อส่งมอบงานตามเป้าหมายของโครงการ แต่สำหรับ Project Manager ที่ ทำงาน ในองค์กร ที่มีวัฒนธรรมการทำงาน แบบ Silo Culture เราจะพบกับอุปสรรค ดังนี้
1. การประสานงาน ในโครงการ จะล่าช้า โดยเฉพาะ การประสานงาน ที่ต้องสื่อสาร หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้ามฝ่ายงาน เนื่องจาก ต้องผ่านกระบวนการที่แต่ละฝ่ายงาน กำหนดเอาไว้ ซึ่งมักจะเป็นกระบวนการ ที่อำนวยความสะดวกให้กับ การทำงานในระดับฝ่ายงานนั้นๆ แต่ไม่ได้อำนวยความสะดวกให้กับฝ่ายงานอื่นๆ ที่เข้ามาติดต่อประสานงานด้วย
2. ทีมงานในโครงการ มักจะไม่ใส่ใจ และทุ่มเทกับงานโครงการมากนัก เนื่องจากทีมงาน ขาดความสนใจเป้าหมายหลักของโครงการ แต่จะให้ความสำคัญกับเป้าหมาย หรือ KPI ของงานในฝ่ายงานของตนเองมากกว่า
3. Project Manager ขององค์กรที่มีวัฒนธรรมการงานแบบ Silo Culture นั้น มักจะขาดอำนาจอย่างเป็นทางการ ในการสั่งการ ทีมงานโครงการ เนื่องจาก องค์กรยังกำหนดให้ ผู้จัดการของฝ่ายงานต่างๆ มีอำนาจในการสั่งการเจ้าหน้าที่ในฝ่ายงานของตนเอง ถึงแม้ว่า จะถูกมอบหมายไปทำงานในโครงการแล้วก็ตาม
4. มักจะเกิดความขัดแย้งในโครงการ ขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจาก ทีมงานโครงการ มักจะมีพฤติกรรม ปกป้องผลประโยชน์ของฝ่ายงานที่ตนเองสังกัด หรือโยนความผิดไปให้หน่วยงานอื่น มากกว่าจะร่วมมือกัน เพื่อให้โครงการสำเร็จและบรรลุเป้าหมาย
ด้วยประเด็นปัญหาทั้ง 4 ข้อข้างต้นนั้น ถือเป็นอุปสรรคสำคัญ สำหรับการบริหารโครงการ และหาก ท่านเป็น Project Manager ที่ ทำงาน ในองค์กร ที่มีวัฒนธรรมการทำงาน แบบ Silo Culture เราควรจะมีการปรับตัว และรับมืออย่างไร เพื่อให้โครงการของเรา ดำเนินการไปได้ สำเร็จตามเป้าหมาย ผมจะมาอธิบายให้ฟัง ในบทความหน้าครับ
บทความโดย อาจารย์ ไพบูลย์ ปัญญายุทธการ (PMP)
Knowledger Co.,ltd.
www.knowledgertraining.com
Silo Culture เป็นอุปสรรคสำคัญ อันดับต้นๆ ของการพัฒนาการบริหารโครงการ ในองค์กร อันเนื่องมาจาก การบริหารโครงการ เป็นงานที่มีลักษณะ Cross Functional Job หรืองานที่ต้องอาศัยความร่วมไม้ร่วมมือ จากหลายๆฝ่ายงานในองค์กร เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ตัวอย่างเช่น โครงการพัฒนาสินค้าใหม่ของบริษัท ก็จำเป็นจะต้อง ได้รับความร่วมมือ เพื่อทำงานร่วมกัน ระหว่าง ฝ่าย R&D ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการเงิน หรือ โครงการพัฒนา Software Application ก็ต้องเป็นการทำงานสอดประสานกัน ระหว่าง ฝ่ายไอที และ ฝ่ายธุรกิจ เป็นต้น
Project Manager ที่โชคดี ที่ได้ทำงานในองค์กร ที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบ Cross Function อยู่แล้ว ก็จะสามารถส่งมอบงานโครงการได้ง่ายขึ้น เนื่องจากทุกฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือร่วมใจ ในการทำงานเพื่อส่งมอบงานตามเป้าหมายของโครงการ แต่สำหรับ Project Manager ที่ ทำงาน ในองค์กร ที่มีวัฒนธรรมการทำงาน แบบ Silo Culture เราจะพบกับอุปสรรค ดังนี้
1. การประสานงาน ในโครงการ จะล่าช้า โดยเฉพาะ การประสานงาน ที่ต้องสื่อสาร หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้ามฝ่ายงาน เนื่องจาก ต้องผ่านกระบวนการที่แต่ละฝ่ายงาน กำหนดเอาไว้ ซึ่งมักจะเป็นกระบวนการ ที่อำนวยความสะดวกให้กับ การทำงานในระดับฝ่ายงานนั้นๆ แต่ไม่ได้อำนวยความสะดวกให้กับฝ่ายงานอื่นๆ ที่เข้ามาติดต่อประสานงานด้วย
2. ทีมงานในโครงการ มักจะไม่ใส่ใจ และทุ่มเทกับงานโครงการมากนัก เนื่องจากทีมงาน ขาดความสนใจเป้าหมายหลักของโครงการ แต่จะให้ความสำคัญกับเป้าหมาย หรือ KPI ของงานในฝ่ายงานของตนเองมากกว่า
3. Project Manager ขององค์กรที่มีวัฒนธรรมการงานแบบ Silo Culture นั้น มักจะขาดอำนาจอย่างเป็นทางการ ในการสั่งการ ทีมงานโครงการ เนื่องจาก องค์กรยังกำหนดให้ ผู้จัดการของฝ่ายงานต่างๆ มีอำนาจในการสั่งการเจ้าหน้าที่ในฝ่ายงานของตนเอง ถึงแม้ว่า จะถูกมอบหมายไปทำงานในโครงการแล้วก็ตาม
4. มักจะเกิดความขัดแย้งในโครงการ ขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจาก ทีมงานโครงการ มักจะมีพฤติกรรม ปกป้องผลประโยชน์ของฝ่ายงานที่ตนเองสังกัด หรือโยนความผิดไปให้หน่วยงานอื่น มากกว่าจะร่วมมือกัน เพื่อให้โครงการสำเร็จและบรรลุเป้าหมาย
ด้วยประเด็นปัญหาทั้ง 4 ข้อข้างต้นนั้น ถือเป็นอุปสรรคสำคัญ สำหรับการบริหารโครงการ และหาก ท่านเป็น Project Manager ที่ ทำงาน ในองค์กร ที่มีวัฒนธรรมการทำงาน แบบ Silo Culture เราควรจะมีการปรับตัว และรับมืออย่างไร เพื่อให้โครงการของเรา ดำเนินการไปได้ สำเร็จตามเป้าหมาย ผมจะมาอธิบายให้ฟัง ในบทความหน้าครับ
บทความโดย อาจารย์ ไพบูลย์ ปัญญายุทธการ (PMP)
Knowledger Co.,ltd.
www.knowledgertraining.com