ข้อสอบประเภทคำนวณ ในการสอบ PMP (ตอนที่ 4 : PTA – Point of Total Assumption)
โจทย์ข้อสอบ PMP ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณค่า PTA หรือ Point of Total Assumption นั้น จะเป็นข้อสอบที่อยู่ในเรื่อง Procurement Management โดยจะอ้างอิงสัญญาประเภท Cost Plus Incentive Fee (CPIF) หรือ Fixed Price Incentive Fee (FPIF) ที่จะมีการผูกเงื่อนไขการให้ Incentive กับ Seller ตาม Cost ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของโครงการ เช่น ดังตัวอย่าง

You are running a project for a customer based on a Fixed Price Incentive Fee (FPIF) contract with the following terms:
Target costs: $ 150,000
Fixed fee: $ 20,000
Benefit/cost sharing : Buyer = 85% and Seller = 15%
Price ceiling: $ 250,000
Which is the point of total assumption (PTA) of the project?
A. $244,118
B. $244,444
C. $234,444
D. $234,118

ก่อนทำโจทย์ ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของตัวเลขต่างๆ ดังนี้
Cost คือ ต้นทุนสินค้าของโครงการ
Fee คือ ค่าแรง หรือ ค่าบริการที่ต้องจ่ายให้ Seller
Price คือ ราคา หรือมูลค่าของโครงการ ซึ่งจะเท่ากับ Cost + Fee
จากโจทย์ข้างต้น ตีความได้ว่า โครงการดังกล่าว Buyer และ Seller นั้น ได้ทำการประเมินต้นทุนสินค้าของโครงการไว้ เบื้องต้น เท่ากับ $150,000 และ ตกลงกันในเบื้องต้นว่า ค่า Fee ที่ Buyer จะจ่ายให้ Seller เท่ากับ $20,000 ดังนั้น Buyer จึงรับทราบในเบื้องต้นว่า มูลค่าโครงการนี้ กำหนดไว้ เท่ากับ $150,000 + $20,000 = $170,000 กล่าวโดยสรุปคือ

Target Cost = $150,000
Target Fee = $20,000
Target Price = $170,000

และ หากเกิดเหตุการณ์ที่ ต้นทุนสินค้าของโครงการ เปลี่ยนแปลงจาก $150,000 ที่กำหนดไว้นั้น หากต้นทุนสินค้า เพิ่มขึ้นนั้น Buyer จะต้องรับผิดชอบ 85% ของส่วนที่เพิ่มขึ้น และ Seller จะต้องรับผิดชอบ 15% ของส่วนที่เพิ่มขึ้น ในทำนองเดียวกัน หากต้นทุนสินค้า ลดลงนั้น Buyer จะต้องแบ่งเงินส่วนที่ประหยัดได้ ให้ Seller เท่ากับ 15% ของต้นทุนที่ลดลง และ Buyer มีการกำหนดค่า ราคาสูงสุดที่รับได้ ของโครงการ หรือ Price Ceiling ไม่เกิน $250,000 นั่นคือ เงินที่ตนเองสามารถจ่ายได้มากที่สุดสำหรับโครงการนี้ โจทย์ถามหาค่า PTA หรือ Point of Total Assumption ซึ่งหมายถึง ต้นทุนสินค้า ณ จุดที่ เป็นราคาสูงสุดที่รับได้ ของโครงการ หรือ Price Ceiling นั่นเอง เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ของตัวเลขต่างๆ จะขอนำเสนอในรูปแบบ ตารางด้านล่าง

PMP exam, pmp certified, pmp training, certified pmp, ติวสอบ pmp, สอบ pmp, อบรม pmp

จากตารางข้างต้น
ต้นทุนสินค้าที่ประเมินตอนเริ่มโครงการ (Target Cost) + ต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Cost Overrun) = ต้นทุนสินค้าจริงของโครงการ (Cost)

ค่าบริการจริงของโครงการ (Fee) = ค่าบริการที่ประเมินตอนเริ่มโครงการ (Target Cost) - (0.15 x Cost Overrun)

มูลค่าโครงการ (Price) = ต้นทุนสินค้าจริงของโครงการ (Cost) + ค่าบริการจริงของโครงการ (Fee)

เช่น ในกรณีที่ 5 นั้น ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น $90,000 จากที่ประเมินไว้ตอนต้น ทำให้ต้นทุนสินค้าของโครงการ = $150,000 + $90,000 = $240,000 และ ค่าบริการที่ต้องจ่ายให้ Seller ก็จะเท่ากับ $20,000 - 15%ของ $90,000 = $6,500 ดังนั้น มูลค่าโครงการ เท่ากับ $240,000 + $6,500 = $246,500
การหาค่า PTA ก็คือการหาค่าต้นทุนสินค้าของโครงการ ที่ทำให้ มูลค่าของโครงการ เท่ากับ Price Ceiling นั่นเอง โดยสามารถใช้สูตรดังนี้

PTA = [ (Price Ceiling - Target Price) / Buyer share ratio ] + Target Cost

จากตัวอย่างข้างต้น
PTA = [(250,000-170,000) / 0.85 ] + 150,000
= [ 80,000 / 0.85 ] + 150,000
= 94,118 + 150,000 = 244,118 ตอบ ข้อ A หรือ ที่แสดงไว้ในตาราง ในกรณีที่ 6


                                                                    ไพบูลย์ ปัญญายุทธการ (PMP)
 

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

- Intensive PMP Exam Preparation – Guarantee (7 Days)
- Project Management Master (9 Days)
- Project Management Professionals (6 Days)
- Project Management Practitioner (3 Days)