การพัฒนาการบริหารโครงการในองค์กร

การพัฒนาการบริหารโครงการ ภายในองค์กรนั้น มีจุดประสงค์หลัก ในการเพิ่มความสามารถขององค์กรในการบริหารโครงการ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ และลดต้นทุนขององค์กร อันเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดจากการล้มเหลวของโครงการ

ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารโครงการ มาจาก 2 องค์ประกอบหลัก คือ
1.    องค์ความรู้และทักษะ ของผู้จัดการโครงการ และสมาชิกในโครงการ (Personal Competency)
2.   กระบวนการและเครื่องมือมาตรฐาน ในการบริหารโครงการ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ (Organization Maturity)

การพัฒนา Personal Competency และ Organization Maturity นั้น ต้องทำไปพร้อมๆกัน และสอดคล้องกันเพื่อส่งเสริมให้ บุคคลากรที่มี Competency สามารถทำงานร่วมกันในองค์กร ด้วยกระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบในการพัฒนาทั้ง 2 ส่วนได้ดังนี้
การพัฒนา Competency ของ Project Manager และ Project Team จำเป็นต้อง พัฒนาทักษะและองค์ความรู้ 3 ด้านดังนี้
 
1.1 การฝึกอบรม องค์ความรู้ที่จำเป็นในการบริหารโครงการ ทั้ง 9 องค์ความรู้ ตามมาตรฐาน Project Management Body Of Knowledge (PMBOK) ดังนี้
1.1.1       Scope Management
1.1.2       Time Management
1.1.3       Cost Management
1.1.4       Quality Management
1.1.5       Human Resource Management
1.1.6       Communication Management
1.1.7       Risk Management
1.1.8       Procurement Management
1.1.9       Integration Management
 
1.2 การพัฒนาทักษะการนำเครื่องมือด้านการบริหารโครงการไปใช้งาน (Tools & Techniques) เช่น
1.2.1       การจัดทำ Business Case
1.2.2       การวิเคราะห์ Requirement ของโครงการ
1.2.3       การจัดทำ Project Management Plan
1.2.4       การจัดทำ Work Breakdown Structure
1.2.5       การ Conduct Progress Meeting
1.2.6       การวิเคราะห์ Stakeholder
1.2.7       การประเมินและติดตามความเสี่ยงโครงการ
1.2.8       การจัดทำ Project Human Resource Plan
1.2.9       การจัดทำ Project Schedule
1.2.10    จัดทำ Project Cost Planning
1.2.11    การวัดผลโครงการ
1.2.12    การบริหารการเปลี่ยนแปลงในโครงการ
1.2.13    การบริหารสัญญา
1.2.14    การบริหาร Vendor และ Sub Contractor
1.2.15    การมอบหมายงาน
1.2.16    การจัดทำ Project Communication Plan
 
1.3 การพัฒนา Soft Skills ของ Project Manager เช่น
1.3.1       Team Building
1.3.2       Conflict Management
1.3.3       Team Motivation
1.3.4       Leadership
1.3.5       Influencing and Negotiation Techniques
1.3.6       Stakeholder Management
1.3.7       Communication and Presentation
 
การพัฒนา Maturity ด้านการบริหารโครงการขององค์กร คือการจัดทำกระบวนการและเครื่องมือมาตรฐาน ในการบริหารโครงการในองค์กร และวัดประสิทธิผลการทำงานของโครงการ เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้องค์กร มีความสามารถในการบริหารโครงการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารโครงการและองค์กร ภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันของธุรกิจ
 
การพัฒนา Maturity ด้านการบริหารโครงการขององค์กร มีลำดับขั้นการพัฒนาดังนี้
2.1.Setup Project Steering
เป็นขั้นตอนการจัดตั้ง คณะทำงาน และคณะกรรมการบริหาร การพัฒนา Project Management ภายในองค์กร เพื่อใช้เป็นทีมงานในการผลักดันและติดตามผลในการพัฒนา คณะทำงานดังกล่าวอาจะอยู่ในรูปของหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลการบริหารโครงการในองค์กร ที่เรียกว่า Project Management Office (PMO) หรือเป็นทีมงานที่มีตัวแทนมาจากหลายๆหน่วยงานมาร่วมเป็นคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการ ก็ได้
 
2.2.Maturity Assessment & Gap Analysis
เป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์และสำรวจสถานะปัจจุบันขององค์กร ในการนำเครื่องมือทางด้านการบริหารโครงการมาใช้ รวมถึงสำรวจปัญหาด้านการบริหารโครงการขององค์กร และสรุปหาความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือที่ใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปกำหนดแผนในการพัฒนา กระบวนการและเครื่องมือมาตรฐาน ในการบริหารโครงการขององค์กรทีละขั้นจากง่ายไปยาก จากสำคัญมากไปสำคัญน้อย
 
2.3.Prioritize & Workshop
เป็นขั้นตอนในการจัดลำดับความสำคัญของการนำกระบวนการและเครื่องมือ ในการบริหารโครงการ มาใช้ ตามลำดับความสำคัญ หรือตามลำดับความพร้อมขององค์กรผ่านกระบวนการทำ Workshop เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนำไปใช้จริงในองค์กร
 
2.4.Implementing & Standardization
เป็นขั้นตอนในการนำกระบวนการและเครื่องมือในการบริหารโครงการสู่การปฏิบัติจริงในองค์กร และประกาศเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติ รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมในองค์กรในการบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ
 
2.5.Effectiveness Measurement & Lesson Learned  
เป็นขั้นตอนในการวัดผลการทำงานของโครงการหลังจากมีการปฏิบัติตาม Best Practice เพื่อนำมาวิเคราะห์ สิ่งที่เรียนรู้และปรับปรุง เพื่อนำไปพัฒนากระบวนการและเครื่องมือมาตรฐานขององค์กร ให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ
 
 
                                                                  อรินทรา ปัญญายุทธการ (PMP)